วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวคำถามของ อ.ธำรง BM607

10 คำถามที่ อาจารย์ธำรง   ช่อไม้ทอง เคยถามไว้ในห้อง
1. Strategies Management คืออะไร มีความสำคัญต่อองค์กรธุรกิจอย่างไร
ANS      1. Strategies Management คือ
                - เป็นการจัดการ วางแผน การดำเนินการตามแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย
                - เป็นการตัดสินใจในการบริหารและการดำเนินการเพื่อกำหนดการปฏิบัติงานในระยะยาวของธุรกิจ (Long-run Performance)
                - วิธีการดำเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร ดังนั้น             การจัดการเชิงกลยุทธ์จึงหมายถึงกระบวนการที่ต่อเนื่องและมีการทบทวนกระบวนการไป          มาตลอดเวลาเพื่อให้องค์กรโดยรวมอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
                2. ความสำคัญต่อองค์กรธุรกิจ คือการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการให้แนวทางในการแข่งขันในองค์กร โดยที่แนวทางนี้นำมาใช้เพื่อทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ
                ในอนาคต ปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปทำให้ถ้าองค์กรมีการเตรียมพร้อมในการใช้และวางแผนกลยุทธ์อย่างเหมาะสมแล้วจะทำให้เราสามารถป้องกันหรือเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ ทั้งนี้เราสามารถเตรียมเรื่องภายในองค์กรคือ การมีทรัพยากรที่เป็นจุดแข็งในเรื่อง การเงิน ข้อมูลข่าวสาร ทรัพยากรมนุษย์ ผลิตภัณฑ์ โครงสร้าง การผลิตและการดำเนินงาน เทคโนโลยี เพื่อใช้ทรัพยากรดังกล่าว สร้างคุณค่าของสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า
                ถึงแม้ปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเราก็จะสามารถรับมือได้ แต่ถ้าเราไม่เตรียมพร้อม (มีภัยคุกคามทำให้เกิดจุดอ่อน) ก็จะเกิดผลเสีย เช่น ถ้าองค์กรมีปัจจัยด้านการเงิน หรือเทคโนโลยีการผลิตที่ล้าสมัย ก็ไม่สามารถที่จะแข่งขันกับธุรกิจได้เช่นกัน

2. Mission และ Vision คืออะไร ทำไมผู้บริหารจึงควรให้ความสนใจต่อคำเหล่านี้
ANS       Vission (วิสัยทัศน์) คือการมองภาพขององค์กรไปข้างหน้าหลังจากมีการประเมิน           สถานการณ์แล้ว
                Mission (ภารกิจ) คือ สิ่งที่องค์กรหรือกิจการตั้งใจที่จะบรรลุภายในขอบเขตที่ชัดเจน       ภายหลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์สถานการณ์และกำหนด Vission
                                ภารกิจจึงเป็นการระบุให้ชัดว่า องค์กรจะอยู่ในธุรกิจอะไร ซึ่งต้องทำให้ชัดเจนเพื่อ           จะได้นำไปกำหนดคู่แข่งขันและใช้กำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขันต่อไป
                การ Define ธุรกิจที่ดี ควรจะครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญคือ
1.             เราจะทำผลิตภัณฑ์อะไร
2.             เราจะขายผลิตภัณฑ์ให้กับตลาดใด
สาเหตุที่ผู้บริหารต้องให้ความสนใจเพราะ
Vission - เป็นการมองภาพรวมไปในอนาคต เพื่อมองไปข้างหน้าว่าสภาพแวดล้อมจะเป็น             อย่างไรและองค์กรจะอยู่ในตำแหน่ง (Position) ใดในสภาวะแวดล้อมนั้น
-                   เป็นเป้าหมายเกี่ยวกับอนาคตขององค์กรที่เกิดจาก ทัศนคติ มุมมอง ตลอดจนแนวคิดของผู้บริหารที่แตกต่างกันออกไป
                Mission เป็นการบอกถึงลักษณะของธุรกิจที่องค์กรดำเนินอยู่ และสิ่งที่องค์กรเป็นอยู่ใน                              ปัจจุบันและทิศทางที่องค์กรจะมุ่งไปข้างหน้า
-                   ช่วยสร้างคุณค่าและความแตกต่างจากองค์กรอื่นในอุตสาหกรรม
-                   บ่งบอกถึงข้อมูลและวัตถุประสงค์พื้นฐานที่ทำให้องค์กรแตกต่างจากที่อื่น
-                   บ่งบอกถึงขอบเขตในการทำงานขององค์กรในแง่ของสินค้าและบริการ

3.                                      SWOT Analysis คืออะไรมีประโยชน์อย่างไรต่อการจัดการเชิงกลยุทธ์
ANS       SWOT Analysis คือ
-                   เครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกเพื่อนำไปสู่การสร้างกลยุทธ์
-                   สามารถเสนอแนะทางเลือกกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างจุดแข็งเพิ่มเติม
                ประโยชน์
1.             ใช้ประเมินสภาวะแวดล้อมและสถานภาพขององค์กร โดยเน้นศักยภาพและความพร้อมที่องค์กรมีอยู่และพยายามหลีกเลี่ยงภัยคุกคาม หรือความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมภายนอก รวมทั้งแก้ไขจุดอ่อนขององค์กรด้วย เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้มีโอกาสที่จะก่อให้เกิดคุณและโทษต่อองค์กร ซึ่งหากนำจุดแข็งและโอกาสที่มีอยู่มาใช้จะก่อให้เกิดประโยชน์ได้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น SWOT จึงเป็นการนำเสนอกลยุทธ์จากการทำงานที่ทุกหน่วยงานควรจะมีเป็นประจำ
2.             นำไปใช้ปรับปรุงแนวคิดและแนวปฏิบัติของการจัดทำแผนงานหรือโครงการของหน่วยงานให้มีโอกาสสร้างความสำเร็จมากขึ้น
3.             ทำให้ทราบถึงกลยุทธ์ในการปรับปรุงการทำงาน ความก้าวหน้าและขีดจำกัด ด้าน บุคลากร  งบประมาณ และระบบงานเป็นการป้องกันการแทรกแซงการทำงานจากปัจจัยภายนอกได้มากขึ้น

4. อธิบายความหมายและความสำคัญของ Corporate Governance และ Social Responsibility
ANS       Corporate Governance (บรรษัทภิบาล) หมายถึง กระบวนการ กิจกรรม หรือ กลไกที่องค์กรหรือบริษัท กระทำเพื่อให้เกิดการจัดการที่ดีในองค์กรหรือ เรียกว่า ธรรมาภิบาล (Good Corporate Governance)  ดังนั้น Corporate Governance จึงเป็นระบบที่จัดให้มีกระบวนการ โครงสร้าง และการควบคุมกิจการให้มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ด้วยความโปร่งใส สามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันเพื่อรักษาเงินลงทุนและเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว ภายใต้กรอบของการมีจริยธรรมที่ดี โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน และสังคมโดยรวม ดังมีลักษณะที่สำคัญ คือ
-                   การบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ
-                   การตรวจสอบและอธิบายได้
-                   ความโปร่งใส
-                   การมีกรอบกฎหมายสำหรับการพัฒนา
                Corporate Governance (บรรษัทภิบาล) มีความสำคัญคือ ในการดำเนินการและการตัดสินใจทางกลยุทธ์หลายครั้งที่มีเรื่องของจริยธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากเป็นผลกระทบที่ส่งผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร  ดังนั้นกิจกรรมหรือกลยุทธ์บางประการอาจจะให้ประโยชน์แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บางกลุ่มแต่ก็อาจจะส่งผลเสียต่อ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบางกลุ่มก็ได้ เช่นการที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดีองค์กรอาจจะต้องมีการปิดโรงงานบางส่วน อาจจะเป็นผลเสียต่อพนักงานจำนวนมากที่ต้องตกงาน ซึ่งการตัดสินใจลักษณะนี้ก็จะมีจริยธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งผู้บริหารจะต้องเลือกและพิจารณาถึงต้นทุนที่เกิดขึ้น และผลตอบแทนที่จะได้รับจากการตัดสินใจนั้นๆ
                สรุป Corporate Governance จึงเป็นพื้นฐานที่จะช่วยพัฒนาสังคมทั้งหลายให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพโดยยึดหลัก 6 ประการ คือ
-                   ความซื่อสัตย์สุจริต
-                   การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส
-                   ความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้
-                   ความชอบธรรมและยุติธรรม
-                   ความมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
-                   ความมีคุณธรรมและจริยธรรมขององค์กร
                ซึ่งถ้าองค์กรธุรกิจสามารถนำหลักดังกล่าวมาปรับใช้ก็จะสามารถนำพาองค์กรและสังคมก้าวไปสู่ความสำเร็จได้พร้อมกัน
                Social Responsibility (ความรับผิดชอบต่อสังคม) หมายถึง
-                                           คุณลักษณะทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร หรือองค์กรธุรกิจที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของตน ในเรื่องเกี่ยวกับสาธารณสมบัติ วัฒนธรรม ประเพณี ทรัพยากรธรรมชาติ สภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน โดยวัดได้จากความรู้สึกที่แสดงออกถึงการรับรู้ การตอบสนอง การสร้างคุณค่า
-                                           ความรับผิดชอบที่องค์กรธุรกิจพึงมีต่อผลกระทบ จากการดำเนินงานทางธุรกิจที่เกิดขึ้นต่อสังคม หรือการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาของสังคมที่องค์กรเข้าไปเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
-                   ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
-                   ความรับผิดชอบต่อพนักงาน
-                   ความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อม
Social Responsibility (ความรับผิดชอบต่อสังคม) มีความสำคัญคือ ในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันตั้งอยู่บนการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มขึ้น ดังนั้นการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัว เรียนรู้และพัฒนา อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทั้งทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดชอบพื้นฐาน ที่องค์กรต้องมีต่อสังคม เช่นความรับผิดชอบต่อคุณภาพสินค้าหรือบริการที่จำหน่ายให้กับผู้บริโภค ความรับผิดชอบต่อผลตอบแทน สวัสดิการและความปลอดภัยของพนักงาน ความรับผิดชอบต่อความเสียหายของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันเป็นผลเนื่องมาจากการผลิตสินค้า หรือการให้บริการ ซึ่งความรับผิดชอบดังกล่าวจะส่งผลโดยตรงต่อการบรรลุเป้าหมาย เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

5. จงอธิบายความแตกต่างระหว่าง Social and Task environment
ANS       Social environment เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับ การวิเคราะห์ทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ภาวะเศรษฐกิจ การเมืองและกฎหมาย เทคโนโลยี ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อองค์กรในระยะยาว ทั้งนี้จะเป็นการประเมินสภาพแวดล้อมที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงได้ ในลักษณะที่เป็นโอกาสและภัยคุกคาม
                ในปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจจะเริ่มวิเคราะห์สถานการณ์ด้วยการเริ่มจากการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกเนื่องจากปัจจัยที่ผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุมได้ โดยทั่วไปสิ่งที่องค์กรจะต้องให้ความสนใจมี 7 ประการคือ
1.             M = Market คือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
2.             C = Competition คือสถานการณ์การแข่งขัน
3.             S = Social คือค่านิยมทางวัฒนธรรมและสังคม
4.             T = Technology คือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
5.             E = Economic คือสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ
6.             P = Political & Legal  คือกฎระเบียบหรือสถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่างๆ
7.             S = Suppliers  คือกลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบ

Task environment เป็นการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายในองค์กร เพื่อกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร เพิ่มความอยู่รอดและความสามารถทางการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องนำจุดแข็ง ภายในองค์กรมาใช้ให้เกิดประโยชน์และในขณะเดียวกัน องค์กรจะต้องแก้ไขจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องขององค์กรเอง
                สำหรับสิ่งที่องค์กรจะต้องให้ความสนใจต่อปัจจัยภายในที่สำคัญอาทิเช่น ผู้บริโภค คู่แข่งขัน นโยบาย แรงงาน ทรัพยากรในองค์กร ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ มีผลทั้งด้านบวกและด้านลบต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร
                การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน จึงเป็นการดำเนินการที่สำคัญคือการวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรในลักษณะที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

6. โปรดอธิบายในแต่ละ 5’s Force ของ Task Environment เป็นโอกาสและภัยคุกคามได้อย่างไร
ANS       5’s Force เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับงานและองค์กรธุรกิจหรือเป็นการวิเคราะห์สภาพการแข่งขันโดยการวิเคราะห์ศักยภาพในการทำกำไรขององค์กร
                ทั้งนี้สภาวะการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจจึงขึ้นอยู่กับสภาวการณ์แข่งขันในอุตสาหกรรมที่องค์กรธุรกิจนั้นอยู่ และสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมใด อุตสาหกรรมหนึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 5 ประการ ซึ่งจะบอกถึงโอกาสในการทำกำไร
                5’s Force ของ Task Environment ประกอบด้วยปัจจัย 5 ประการ สามารถนำมาอธิบายให้เห็นถึงโอกาสและภัยคุกคาม ได้ดังนี้
1.              คู่แข่งขันใหม่ เป็นการวิเคราะห์คู่แข่งขันที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรม โดยการวิเคราะห์สิ่งกีดขวางในการเข้าสู่อุตสาหกรรม ซึ่งถ้าอุตสาหกรรมนั้นมีสิ่งกีดขวางมากทำให้การเข้าสู่อุตสาหกรรมทำได้ยาก จึงเป็นโอกาสขององค์กรที่คู่แข่งไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้สิ่งกีดขวางที่สามารถยกตัวอย่างได้ เช่น
ด้านเงินทุน : ถ้าอุตสาหกรรมมีการใช้เงินทุนมากจะทำให้เป็นโอกาสขององค์กร
ด้านต้นทุน : ถ้าอุตสาหกรรมนั้นมีการประหยัดจากขนาด (Economics of Scale) ทำให้มีต้นทุนต่ำ ดังนั้น คู่แข่งเข้าสู่อุตสาหกรรม ได้ยากจึงเป็นโอกาสขององค์กร
ด้านความจงรักภักดีของลูกค้า : ถ้าอุตสาหกรรมมี Brand Royality มากเป็นโอกาส แต่ถ้าไม่มีความจงรักภักดีก็จะเป็นภัยคุกคาม
2.              สภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม เป็นการวิเคราะห์ในอุตสาหกรรมที่มีคู่แข่งเดิมสามารถแสดงให้เห็นตัวอย่างได้ดังนี้
                จำนวนของคู่แข่ง ถ้ามีมากจะทำให้การแข่งขันรุนแรงทำให้เป็นภัยคุกคามในการ             ดำเนินงาน
                ความเท่าเทียมกันในด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะการผลิต จะทำให้การ              แข่งขันมีสูง ถ้าองค์กรมีมากก็จะเป็นโอกาส
                ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ถ้าองค์กรสามารถสร้างความแตกต่างในสินค้าและ              บริการได้มากกว่าจะเป็นโอกาสในการแข่งขัน
3.              อำนาจต่อรองของ Supplier สามารถแสดงให้เห็นตัวอย่างได้ดังนี้
                จำนวนของ Supplier ถ้ามีมากทำให้องค์กรสามารถเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ      ปริมาณและราคาที่เหมาะสมได้ง่าย/ถ้ามีน้อยก็จะเป็นข้อจำกัดในการเลือกวัตถุดิบ      เป็นภัยคุกคาม
                ลักษณะของวัตถุดิบ
                ถ้าวัตถุดิบมีความแตกต่างและหายาก เป็นภัยคุกคาม
-                   ถ้าเป็นวัตถุดิบเป็นมาตรฐานไม่แตกต่างด้านคุณภาพเป็นโอกาส
Suppier กลายเป็นผู้ผลิตเอง เป็นภัยคุกคาม
4.              อำนาจต่อรองของลูกค้า
-                   จำนวนผู้ซื้อน้อยกว่าผู้ผลิต จะทำให้การแข่งขันรุนแรงเป็นภัยคุกคาม
-                   ลักษณะของสินค้า ถ้าไม่แตกต่างการแข่งขันจะรุนแรงมากกลายเป็นภัยคุกคาม
-                   ข้อมูลข่าวสารของผู้ซื้อ ถ้ามีอำนาจต่อรองมากเป็นอุปสรรค
5.              สินค้าทดแทน
-                   สินค้าในอุตสาหกรรมอื่นที่สามารถทดแทนได้ ทำให้การแข่งขันรุนแรงเป็นภัยคุกคาม
-                   ต้นทุนของสินค้าทดแทนต่ำ ทำให้ราคาสินค้าทดแทนต่ำ เป็นภัยคุกคาม


7. อธิบายความหมายของ Core และ Districtive Competency แนวคิดนี้มีความสำคัญอย่างไร
ANS       Core Competency เป็นความสามารถหลักในการแข่งขันขององค์กร
                Districtive Competency เป็นความสามารถที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะขององค์กร
ทั้งสองคำมีความสำคัญคือ
                Core Competency ถ้าไม่มีก็ไม่สามารถสร้าง Value ให้แก่ลูกค้าได้
                Districtive Competency เป็นความสามารถที่คู่แข่งสามารถแข่งขันได้ถ้ามีโอกาส แต่ถ้าองค์กรสามารถทำให้ความเชี่ยวชาญดังกล่าว เป็นจุดแข็งที่โดดเด่นเหนือกว่าคู่แข่ง สามารถเข้าถึงได้ยากก็จะเกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ขอขยายความน่ะค่ะ
Core Competency เป็นการสร้างความสามารถหลักในการแข่งขันขององค์การ ซึ่งจะนำไปสู่การได้เปรียบทางการแข่งขัน มีลักษณะที่สำคัญคือ
-                   มีคุณค่าในการดำเนินธุรกิจและการแข่งขันอย่างแท้จริง
-                   เป็นปัจจัยที่เหนือกว่าคู่แข่งขันหรือไม่มีคู่แข่งขันในอุตสาหกรรม
-                   ไม่สามารถเลียนแบบได้ หรือมีต้นทุนการผลิตที่คู่แข่งจะไม่สามารถสร้างขึ้นมาให้เทียบเท่า
Districtive Competency คือความเชี่ยวชาญที่โดดเด่น เป็นการสร้างความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะให้เกิดขึ้นกับองค์กร กระตุ้นให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน บริษัทจึงต้องอยู่ในธุรกิจของการเสาะหาและสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ลูกค้า อย่างต่อเนื่องโดยตระหนักและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ต่อความต้องการของลูกค้า
                ดังนั้น ถ้าองค์กรหรือธุรกิจใด มีองค์ประกอบทั้ง 2 อย่าง ก็จะสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของธุรกิจก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร Core & Districtive Competency จึงเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของทั้งองค์กร ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร และจะต้องมีส่วนช่วยให้องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้

8. อธิบายความหมายของ Value Chain นักบริหารจะใช้ประโยชน์จากแนวคิดนี้ได้อย่างไร
ANS       Value Chain คือการวิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณค่าที่องค์กรส่งมอบให้แก่ลูกค้า โดยแต่ละกิจกรรมใน Value Chain มีส่วนช่วยก่อให้เกิดคุณค่าทั่วทั้งองค์กร ซึ่งแต่ละกิจกรรมเป็นพื้นฐานในการสร้างคุณค่าขององค์กรให้กับลูกค้า  ด้วยการเริ่มต้นแยกแยะองค์ประกอบของทรัพยากรต่างๆ
1. กิจกรรมหลัก (Primary Activity)  ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
Inbound Logistics : การเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิต
Operation : การผลิตและทดสอบรวมทั้งเครื่องมือในการผลิตและประกอบสินค้า
Outbound Logistics : การเก็บรักษาสินค้าที่ผลิตแล้วและเตรียมพร้อมที่จะจัดส่งต่อไป
Marketing and Sales : การโฆษณา การส่งเสริมการตลาด การตั้งราคาและช่องทางการจัดจำหน่าย
Service : บริการหลังการขาย
2. กิจกรรมสนับสนุน (Support Activity) เป็นการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ภายในองค์กรเพื่อสนับสนุนกิจกรรมหลัก ประกอบด้วย
Procurement : การจัดซื้อ
Technology Development : การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ,กระบวนการในการปรับปรุง
Human Resource Management : การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การสรรหา การคัดเลือก
Firm Infrastructure : การจัดการทั่วไป เช่น บัญชี การเงิน กลยุทธ์ การตลาด
                นักบริหารจะใช้ประโยชน์จากแนวคิดนี้ได้คือ การนำทรัพยากรขององค์กรมาวิเคราะห์เพื่อสร้างคุณค่าให้เกิดแก่องค์กร โดยวิธีการที่จะทำให้เกิด Value Chain คือ
1.             การตรวจสอบดูว่าแต่ละ Value Chain มีกิจกรรมอะไรบ้าง และมีกิจกรรมใดเป็นจุดอ่อน และจุดแข็งอย่างไร เพื่อนำมาปรับปรุง และนำมาปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆ ให้มีความสอดคล้องกัน
2.             การตรวจสอบตัวเชื่อม (Linkage) ระหว่างกิจกรรมที่จะทำให้เกิดคุณค่ากับกิจกรรมอื่น ว่ามีการเชื่อมโยงกันอย่างไร รวมทั้งพิจารณาว่ากิจกรรมแต่ละประเภทก่อให้เกิดคุณค่าอย่างไร
3.             ตรวจสอบดูว่า Value Chain เกิดจาก
        Economics of scale : ผลิตปริมาณมากโดยใช้ต้นทุนต่ำ
        Economics of scope : ความสามารถที่จะ Share ช่องทางการจัดจำหน่าย
สรุป การใช้ประโยชน์ของ Value Chain เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาและวิเคราะห์กิจกรรม โดยแนวคิด Value Chain ได้แบ่งกิจกรรมต่างๆ ภายในองค์กรออกเป็นประเภทต่างๆ โดยพิจารณาในแง่ความสำคัญต่อการจัดทำ กลยุทธ์ขององค์กร          นักบริหารสามารถศึกษาถึงลักษณะความสำคัญและความสัมพันธ์ของแต่ละกิจกรรม โดยที่องค์กรธุรกิจสามารถสร้างความสามารถในการแข่งขัน ได้โดยการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ ในต้นทุนที่ถูกกว่าหรือก่อให้เกิดความแตกต่างจากคู่แข่งขัน
9. อธิบายความหมายของ Corporate  Strategy แต่ละทางเลือกแตกต่างกันอย่างไร
ANS               Corporate  Strategy เป็นการบ่งบอกถึงทิศทางขององค์กรในอนาคตเพื่อที่จะให้ธุรกิจของตนเองเข้าสู่อุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งกิจกรรมและแนวทางที่ใช้ในการบริหารและจัดการบริษัทที่มีลักษณะการขยายตัวไปสู่ทิศทางต่างๆ  นอกจากนี้กลยุทธ์ระดับองค์กรยังมุ่งเน้นที่การตัดสินใจว่าจะดำเนินการในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันหรือหลายประเภท สามารถแบ่งแต่ละทางเลือกได้ ดังนี้
1.              กลยุทธ์การเจริญเติบโต (Growth Strategy) คือ กลยุทธ์ที่องค์กรสามารถปรับและจัดสรรทรัพยากรภายในที่มีอยู่ ให้สามารถฉกฉวยโอกาสจากสถานการณ์ภายนอกที่เอื้ออำนวยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก่อให้เกิดยอดขายที่เพิ่มขึ้นหรือการตลาดที่มากขึ้น  นอกจากนี้ในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง องค์กรธุรกิจย่อมจะต้องใช้กลยุทธ์ในการขยายตัวเพื่อความอยู่รอดโดยมีลักษณะที่จะต้องพิจารณาคือ
-                   การขยายตัว จากภายในหรือภายนอกองค์กร
-                   การขยายตัวสู่อุตสาหกรรม เดิมหรืออุตสาหกรรมใหม่
2.              กลยุทธ์คงที่ (Stability Strategy) คือกลยุทธ์ที่องค์กรไม่สามารถปรับหรือจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อแสวงหาโอกาสจากสภาวการณ์ภายนอกได้ หรือสถานการณ์ภายนอกไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตขององค์กร
                        กลยุทธ์นี้จะมีความเหมาะสมต่อองค์กรธุรกิจในระยะสั้
3.              กลยุทธ์หดตัว (Retrenchment Strategy) คือกลยุทธ์ที่องค์กรไม่สามารถต่อสู้กับภัยคุกคามจากสภาพการภายนอกและทรัพยากรที่มีอยู่ไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะรักษาสถานภาพความมั่นคงขององค์กรได้ มีลักษณะดังนี้
-                   การพลิกฟื้นกิจการ (Turnaround)
-                   การเลิกกิจการ (Divestment)
-                   การเก็บเกี่ยว (Harvest)
10. อธิบายความหมายของ Business Stategy แต่ละทางเลือกแตกต่างกันอย่างไร
ANS      Business Stategy คือกลยุทธ์ที่องค์กรใช้ในการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรม ดังนั้นในการกำหนด กลยุทธ์ระดับธุรกิจจะเป็นกลยุทธ์ที่องค์กรนำมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบและชัยชนะเหนือคู่แข่งทางธุรกิจ ประกอบด้วยหลากหลายทางเลือก และมีความแตกต่างกัน ดังนี้
1.              กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ (Lowercost Stategy) คือความสามารถของธุรกิจในการผลิตและการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการที่มีต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งขัน และได้รับผลตอบแทนสูงกว่าบริษัทอื่นๆ
2.              กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy) คือความสามารถในการจัดหาสินค้าและบริการที่มีความแตกต่างจากคู่แข่งขันและให้คุณค่ามากกว่าในแง่ของคุณภาพ บริการหลังการขาย และคุณลักษณะพิเศษ
3.              กลยุทธ์การมุ่งเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Focus Strategy) โดยการให้ความสำคัญกับลูกค้าหลักของตลาดและพยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีตลอดจนสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าหลักที่สำคัญได้เป็นอย่างดี
สรุป กลยุทธ์ระดับธุรกิจมีแนวคิดที่สำคัญคือ การสร้างและเพิ่มความเข้มแข็งในการแข่งขันทางธุรกิจ ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ การกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจจึงมักจะมีความเกี่ยวข้องกับ
1.             การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกับธุรกิจ
2.             การเปรียบเทียบจุดแข็งและจุดอ่อน กับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน
3.             การกำหนดแนวทางในการดำเนินงานเพื่อก่อให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขัน
4.             การร่วมประสานงานจากหน่วยปฏิบัติการต่างๆ ในกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ
เพิ่มอีกนิดค่ะ (เผื่อถามค่ะ)
กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) คือการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ในแต่ละหน่วยงานขององค์กรให้มุ่งพัฒนาและดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ระดับธุรกิจขององค์กรที่กำหนดไว้โดยมุ่งเน้นที่ 6 หน่วยงานหลัก คือ
-                   ด้านการตลาด
-                   ด้านการผลิตและการบริการ
-                   ด้านวิจัยและพัฒนา
-                   ด้านการเงินและบัญชี
-                   ด้านการจัดซื้อ
-                   ด้านทรัพยากรบุคคล

วิชากลยุทธ์

ความสำคัญและลักษณะของการจัดการเชิงกลยุทธ์

                เนื่องจากสภาวะการที่เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ได้เกิดขึ้น รวมทั้งลักษณะขององค์กรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต รวมทั้งเงื่อนไขการแข่งขันใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ปัจจัยหรือสาเหตุของความสำเร็จขององค์กรธุรกิจที่เคยมีมาในอดีตจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
                ผู้บริหาร (CEO) ขององค์กรธุรกิจ ก็จำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากแนวคิดหรือวิธีการบริหารแบบเดิม ๆ ไม่สามารถนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จได้ ผู้บริหารในโลกยุคใหม่ จึงต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว สาเหตุดังกล่าวทำให้ ต้องมีการศึกษาในด้านการจัดการเชิงกลุทธ์ ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้
1.             การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนด วิสัยทัศน์ (Vision) , ทิศทาง , Mission และ วัตถุประสงค์ ขององค์กรธุรกิจอย่างเป็นระบบ เพื่อให้องค์กรมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน
2.             การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิธีการ หรือแนวทางในการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การเพื่อให้บรรลุถึงทิศทางและวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้น โดยจะต้องทำการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อคิดค้นแวทางในการดำเนินงานที่เหมาะสม
3.             การจัดการเชิงกลยุทธ์ครอบคลุมถึงการนำเอาวิธีการ/แนวทางในการดำเนินงานที่ได้คิดค้นขึ้นมาประยุกต์ใช้/ปฏิบัติเพื่อให้องค์กรบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
4.             การวางแผนหรือการประยุกต์ใช้กลยุทธ์สำหรับธุรกิจเป็นหน้าที่หลักของผู้บริหารองค์กร และถือเป็นเครื่องมือวัดความสามารถในการบริหารของ CEO ได้เป็นอย่างดี

ความแตกต่างของการจัดการทั่วไปกับการจัดการเชิงกลยุทธ์
1.             การจัดการทั่วไปมักจะศึกษาถึงปัจจัยภายในบทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารตามกระบวนการหรือขั้นตอน เช่น การวางแผน, การจัดการองค์กร, การควบคุม การจัดการเชิงกลยุทธ์ จะพิจารณาและคำนึงถึงปัจจัยภายนอกองค์กร เน้นหนักที่การแข่งขันระหว่างองค์ธุรกิจต่าง    เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาว
2.             การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการจัดการที่คำนึงถึงความต้องการและความสำคัญของกลยุทธ์ (ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร) หลายกลุ่มได้แก่ สินค้า, Supplier, เจ้าของกิจการ, สังคม ฯลฯ ซึ่ง CEO จะต้องรู้ว่าการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ จะมีผลกระทบต่อกลยุทธ์หรือไม่ และการจัดการทั่วไป มักจะคำนึงเฉพาะฝ่าย/แผนกของตนเอง (กลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับตนเอง
3.             การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นการจัดการที่มุ่งเน้นการบรรลุถึงเป้าหมายโดยรวมขององค์กร นอกจากนี้ยังจะสามารถทำความเข้าใจถึงกระบวนการในการจัดการเชิงกลยุทธ์ และความสำคัญของแต่ละฝ่ายหรือแต่ละแผนกที่มีต่อองค์กรทั้งหมด
4.             การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการรวมหน้าที่ต่าง ๆ ขององค์กรเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรโดยส่วนรวมเพื่อให้เกิดการชี้นำองค์กรไปสู่ทิศทางที่ชัดเจนและสอดคล้องกันก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากร ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นการมองภาพขององค์กรไปข้างหน้าหลังจากประเมินสถานการณ์แล้ว
ตัวอย่าง บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ที่วางวิสัยทัศน์เป็นครัวของโลก (Kitchen of the world) ด้วยการปรับทิศทางองค์กรจาก Feed มุ่งไปยัง Food
ภารกิจ (Mission) เป็นสิ่งที่องค์กรหรือกิจการตั้งใจที่จะบรรลุภายในขอบเขตที่ชัดเจนอันหนึ่ง ภายหลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์สถานการณ์และกำหนดวิสัยทัศน์แล้ว  ภารกิจจึงเป็นการระบุให้ชัดว่า องค์กรอยู่ในธุรกิจอะไร ซึ่งต้องทำให้กระจ่างเพื่อจะได้นำไปกำหนด คู่แข่งขัน (Competitors) และ ยุทธศาสตร์ในการแข่งขัน (Competitive Strategies) การ Define ธุรกิจที่ดีควรจะครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ
1.             เราทำผลิตภัณฑ์ (Product) อะไร
2.             เราจะขายผลิตภัณฑ์นั้นให้กับตลาด (Market) ใด บอกให้รู้ว่าใครคือคู่แข่งของเราหรือคู่แข่งขันของธุรกิจ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญอย่างหนึ่งของการกำหนดภารกิจ
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objectives) หมายถึง สิ่งที่องค์กรต้องการจะบรรลุ โดยความชัดเจนหรือมีระยะเวลาใกล้กว่า Mis, Vis.

Tips
- กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategies) จะบอกถึงกลยุทธ์โดยรวมหรือทิศทางในการแข่งขันขององค์กรว่าควรจะเข้าสู่หรืออกกจากอุตสาหกรรมใด
- กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategies) จะบอกถึงวิธีการที่องค์กรธุรกิจจะใช้ในการแข่งขันในอุตสาหกรรมแต่ละประเภท
- กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการหรือดำเนินงาน (Functional or Operational Strategic)
คลอบคลุมวิธีการในการแข่งขันหรือดำเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติการต่าง ๆ
                กลยุทธ์ทั้ง 3 ระดับต้องมีความสอดคล้องกัน เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
ตัวอย่าง  ในช่วงที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง  กลยุทธ์ระดับองค์กรอาจจะมุ่งเน้นที่การขยายตัวเข้าสู่ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยมีทางเลือกคือ
-         เข้าไปซื้อกิจการที่มีอยู่แล้วในอุตสาหกรรมนั้น
-         การเข้าไปเริ่มต้นในอุตสาหกรรมนั้นด้วยตนเอง
-         การเข้าไปร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับองค์กรอื่น

เมื่อตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรแล้ว องค์กรจะต้องตัดสินใจว่า กลยุทธ์ระดับธุรกิจหรือวิธีการที่องค์กรจะใช้ในการแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้นจะลักษณะอย่างไร เช่น 1. เน้นการแข่งขันโดยการผลิตสินค้าหรือบริการที่ต้นทุนต่ำ หรือ 2. เน้นผลิตสินค้าหรือบริการที่มีความโดดเด่นด้านคุณภาพหรือมีราคาสูง
                จากนั้นองค์กรจะต้องกำหนดกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ ในด้านต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับองค์กรและระดับธุรกิจ  เช่นถ้าจะเน้นการแข่งขันที่มีคุณภาพของสินค้าและบริการ กลยุทธ์การผลิตก็ต้องเป็นการผลิตที่มีการควบคุมคุณภาพอย่างเคร่งครัด กลยุทธ์การตลาดก็เน้นการโฆษณาให้ผู้บริโภครับรู้ถึงคุณภาพของสินค้าและบริการ

                Vision (วิสัยทัศน์) ภาพรวมในอนาคตเมื่อมองไปข้างหน้าว่าสภาวะแวดล้อมเป็นอย่างไรหรือองค์กรจะอยู่ในตำแหน่ง (Position) ใดในสภาวะแวดล้อมนั้น
                 เป็นจินตนาการเกี่ยวกับอนาคตขององค์กรที่เกิดจากทัศนคติมุมมองตลอดจนแนวคิดของผู้บริหารที่แตกต่างกันออกไป
                Mission (ภารกิจ) บอกถึงลักษณะของธุรกิจที่องค์กรดำเนินอยู่ สิ่งที่องค์กรเป็นอยู่ในปัจจุบันหรือทิศทางที่องค์กรจะมุ่งไปในอนาคต
-         ช่วยสร้างคุณค่าหรือความแตกต่างขององค์กรอื่นในอุตสาหกรรม
-         บ่งบอกถึงข้อมูลหรือวัตถุประสงค์พื้นฐานที่ทำให้องค์กรแตกต่างจากที่อื่น
-         บ่งบอกถึงขอบเขตในการทำงานขององค์กนในแง่ของสินค้าบริการ
วัตถุประสงค์ มีลักษณะที่จะสามารถวัดได้ บอกปริมาณไว้อย่างชัดเจน

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ แตกต่างจากการวางแผนทั่วไป คือ
                เป็นลักษณะที่เป็นการวางแผนที่ต้องอาศัย Vision ของผู้นำในการที่จะเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งภายในหรือภายนอกที่จะกระทบกับธุรกิจ ซึ่งเป็นการวางแผนในลักษณะที่เป็นทั้งการแก้ไขหรือป้องกันรวมทั้งรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
                การวางแผนกลยุทธ์เป็นการวางแผนที่มีการเชื่อมโยงองค์ประกอบในด้านต่าง ๆ ให้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
                การวางแผนโดยทั่วไปนั้น ถ้าเป็นการวางแผนระยะยาวส่วนใหญ่เป็นแผนอุดมคติ เป็นแผนที่เจ้าของหรือผู้บริหารอยากได้โดยไม่คำนึงว่าจะสามารถทำแล้วบรรลุผลได้หรือไม่
               



ประโยชน์ของการจัดการเชิงกลุยทธ์
1.             ทำให้ทราบถึงภาพในอนาคต Vision ของธุรกิจที่อาจจะเป็นไปได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
2.             ทำให้ทราบว่าธุรกิจควรจะเน้นหนักหรือให้ความสำคัญไปยังกลยุทธ์ที่สำคัญอะไรบ้าง
3.             ทำให้เข้าใจสภาวการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง (หรือสามารถปรับแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับโอกาสที่เกิดขึ้นใหม่ (O) ยกแนวทางหลบเลี่ยงภัย (T)
ที่จะดีต่อธุรกิจในอนาคต
4.             ช่วยในการตัดสินใจของผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ ให้สอดคล้องหรือไปในทิศทางเดียวกัน
5.             ทำให้เกิดการจัดทำแผนปฏิบัติการล่วงหน้า ในการตั้งรับ ตอบโต้ต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจ
บริษัทที่มีการวางแผนระยะยาวส่วนใหญ่ ใช้กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์offensive เพื่อเป็นผู้นำในสิ่งใหม่การรู้จักฉกฉวย เพื่อความได้เปรียบคู่แข่งขันรู้จักใช้ประโยชน์ทางการตลาด

2 ความคิดเห็น:

  1. ดีมากเลยค่ะ ตรงกับข้อสอบของดิฉันเลย ขอบคุณมากๆค่ะ

    ตอบลบ
  2. ดีมากเลยค่ะ ตรงกับข้อสอบของดิฉันเลย ขอบคุณมากๆค่ะ

    ตอบลบ