วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบ BM607

ตัวอย่าง คำถาม วิชา Strategic Management
  1. เราเรียนวิชากลยุทธ์ทำไม  อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
อบ เมื่อสภาวะแวดล้อมต่างๆเปลี่ยนแปลง Change ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของทุกองค์การไม่มากก็น้อย การที่เราจะรู้เพียงความสามารถหลัก Core Competency จุดอ่อน Weakness จุดแข็ง Strength ของธุรกิจเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ เราต้องทราบว่าสิ่งแวดล้อมภายนอกต่างๆซึ่งเป็นสิ่งที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภาวะเศรษฐกิจ ความผันผวนค่าเงินบาท การปรับเพิ่ม -ลดอัตราดอกเบี้ยของตลาด ราคาน้ำมันโลกพุ่งสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อธุรกิจเราทั้งสิ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ค่าขนส่งเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น อำนาจซื้อของผู้บริโภคลดลง กระทบต้นทุนค่าแรงขององค์กรที่ต้องเพิ่มขึ้นในอนาคต สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยทำให้รายได้ของธุรกิจลดลงได้เนื่องจากยอดขายลด  แม้กระทั่งคู่แข่งของเรา และกลยุทธ์ที่คู่แข่งเราใช้ เราก็ต้องรู้เท่าทัน เพราะอาจทำให้ส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจเราลดลงได้หากไม่รู้เท่าทันคู่แข่ง และกลยุทธ์ที่พวกเขากำลังใช้อยู่ และดำเนินการปกป้องส่วนแบ่งของธุรกิจเรา วิชากลยุทธ์เป็นการศึกษาทั้งสิ่งแวดล้อมภายนอกและภายใน เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทันเหตุการณ์ที่ผันแปร ทำให้ธุรกิจสามารถปรับตัวทันหากเกิดภัยคุกคาม และสามารถอยู่รอดได้ในภาวะการณ์ต่างๆ

  1. การที่ธุรกิจมีโอกาสนำจุดแข็งของตนขึ้นมาสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ ถือเป็นโอกาส Opportunity หรือไม่?
ตอบ การที่ธุรกิจนำจุดแข็งขององค์กรมาสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน competitive advantage ไม่เป็น  Opportunity เพราะไม่ใช่สาเหตุที่เกิดจากปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่บริษัทควบคุมไม่ได้จริงๆ ข้อนี้ระวัง โจทย์หลอก
  1. SWOT Analysis คืออะไร กรุณาอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ SWOT เป็นวิธีการที่ธุรกิจใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งมีทั้งปัจจัยภายนอก (ปัจจัยที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้) และปัจจัยภายใน (ปัจจัยที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้) เพื่อใช้จุดแข็งที่ธุรกิจมีในการเสาะแสวงหาโอกาส ปิดสกัดกั้น ลดทอนจุดอ่อนของธุรกิจ และหลบหลีกจากภัยคุกคามต่างๆ
ปัจจัยภายนอก  (ดู STEP)
ปลายปี 50 ต้นปี 51 ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น ทำให้สินค้าไทยมีราคาสูงขึ้น กว่าคู่แข่ง สหรัฐซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ในการสั่งซื้อสินค้าจากไทย ลดการสั่งซื้อ ทำให้หลายบริษัทที่ส่งออกถูกกระทบ ยอดขายลดลง ประกอบกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ทำให้หลายบริษัทขาดสภาพคล่อง ขาดเงินทุนหมุนเวียน ต้องปิดกิจการเช่น ผู้ส่งออกรองเท้า อดิดาส, ส่งออกเสื้อผ้า
  1. ในขณะนี้เกิดทั้งภาวะเศรษฐกิจถดถอย และเกิดภาวะเงินเฟ้อพร้อมกัน Stagflation ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของท่านหรือไม่อย่างไร ธุรกิจของท่านต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อย่างไรเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในภาวะนี้  กรุณายกตัวอย่างประกอบด้วย?
ตอบ ในภาวะที่เศรษฐกิจถดถอย และเกิดภาวะเงินเฟ้อไปพร้อมกัน เป็นปัญหาที่แก้ยากมาก ภาวะเงินเฟ้อหมายถึงผู้บริโภคขาดความมั่นใจในอนาคตของตน เพราะอำนาจซื้อลดลง จากการที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต และค่าแรงงานที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคตของธุรกิจ ประกอบกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้คนหันมาใช้พลังงานทางเลือกทดแทน เช่น เอทานอล ทำให้ราคาสินค้าเกษตรที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทางเลือกราคาเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย  ทำให้หลายธุรกิจ เกิดการชงักงัน ยอดขายตก กำไรลด บริษัทขาดสภาพคล่อง และขาดเงินทุนหมุนเวียน หากทำการแก้ไขโดยเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเพื่อหวังให้คนใช้จ่ายบริโภคมากขึ้น เพื่อลดภาวะเงินเฟ้อ ย่อมกระทบกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพราะการแก้ปัญหาเศรษฐกิจถดถอย ต้องทำตรงกันข้ามคือต้องลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อให้ภาครัฐใช้จ่ายเงินมากขึ้น วิธีการแก้ไขปัญหาต้องเพิ่มปริมาณผลผลิตภายในประเทศให้มากขึ้น เพิ่มทักษะความสามารถของแรงงาน ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบในการผลิต ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยทางการผลิตสินค้า การออกแบบสินค้าให้มีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น เป็นการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าของเราให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ โดยไม่ลงไปแข่งกับประเทศที่มีต้นทุนแรงงานถูกกว่า
  1. SBU หมายถึงอะไร มีความสำคัญอย่างไร Hamel เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ (ข้อสอบ MMM รุ่น 3)
  2. Corporate Strategy มี Direction Strategy อะไร และ Parenting Strategy มีความหมายอย่างไร สำคัญอย่างไร สัมพันธ์กันหรือไม่ สัมพันธ์กันอย่างไร อธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง
  3. Portfolio Strategy คือกลยุทธ์อะไร แตกต่างกับBusiness หรือไม่   

ตัวอย่าง การเขียนคำตอบ
กลยุทธ์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม การที่องค์กรเราจะอยู่รอดได้ ต้องมีการ Benchmarkingกับธุรกิจที่เก่งที่สุด ต้องปรับให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ Learning Organization โดย

1 ผู้บริหารต้องศึกษา ค้นหาปัญหาที่แท้จริง โดยสอบถามปัญหาจากพนักงาน ลูกค้า ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อจะได้รู้ปัญหาที่แท้จริง มีสาเหตุเกิดจากอะไร
2.ผู้บริหารต้องมีการเรียนรู้ในนวัตกรรมใหม่ๆ วิธีการผลิตใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในองค์กร เพื่อลดต้นทุนการผลิต
3. ผู้บริหารต้องเรียนรู้ ความสำเร็จจากคนอื่น Benchmarking เพื่อลดการเสียเวลาจากการลองผิดลองถูก

กลยุทธ์ที่ดีต้องมีความยืดหยุ่น Flexibility ปรับเปลี่ยนได้ เพื่อสามารถผลิตสินค้าใหม่ๆ ที่มีความหลากหลายและสามารถตอบสนองความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค ได้ทันกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
4. ผู้บริหาร ต้องมีระบบการสื่อสารที่รวดเร็ว สามารถกระจายข่าว ข้อมูลภายใน ภายนอก ปัญหาให้คนอื่นร่วมรับรู้ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้รวดเร็ว
5. ผู้บริหารต้องจัดคนให้เหมาะสมกับงาน Put the right man on the right job. โดยมีการแบ่งงาน กระจายอำนาจ มอบหมายงานให้มีผู้ดำเนินการเพื่อช่วยให้การตัดสินใจรวดเร็วขึ้น
        องค์กรที่ดีต้องมีวัฒนธรรมองค์กรที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง Fast move องค์กรที่ดีคือองค์กรที่สามารถปรับตัวจนเป็น Digital มีการนำ IT มาช่วย เพื่อลด paper less โดยการใช้ Intra net เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร และสั่งการจะได้เป็นไปอย่างรวดเร็ว Real time ช่วยลดต้นทุนจากการลดปริมาณการใช้กระดาษ รักษาสมดุลย์ธรรมชาติ (กระดาษทำมาจากเยื่อไผ่) เป็นการปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วย CSR (Corporate Social Resposibility)
        ผู้บริหารต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนกลยุทธ์ ต้องติดตามสถานการณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิด
เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปัจจัยแวดล้อมภายนอก/มหภาค Environmental Scanning วิเคราะห์สภาพการแข่งขัน Industry Environment  ดูว่ามีปัญหาสำคัญใดที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
        การศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก External Environment เพื่อหาโอกาส Opportunity และหลบภัยคุกคาม Threat ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
        การศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยภายใน Internal Environment เพื่อดูจุดอ่อน Weakness และหาจุดแข็ง Strength ขององค์กร แล้วนำจุดแข็ง มาสร้างCore Competency สิ่งที่เรามีความเก่ง เชี่ยวชาญไปจับโอกาสเพื่อสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน Competitive Advantage ให้สามารถแข่งขันกับคนอื่นได้.

        ขณะเดียวกันเมื่อรู้ ภัยคุกคาม Threats ก็ต้องพยายามหลบเลี่ยง พยายามลดทอนจุดอ่อนของเราให้เหลือน้อยที่สุดปิดสกัดกั้นจุดอ่อนไม่ให้ถูกคู่แข่งโจมตี โดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วย อาจซื้อเทคโนโลยีใหม่
จ้างผู้เชี่ยวชาญ ใช้ Outsourcers หรือจัดการอบรม Training พนักงานขององค์กรเราเพิ่มความรู้ เพิ่มศักยภาพการทำงาน ให้มี Multi Skill โดยทั้งหมดต้องมีการวางกลยุทธ์ แผนการล่วงหน้าทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เสริมด้วยต้องมีแผนฉุกเฉิน Emergency Plan ไว้รองรับ Crisis ที่อาจเกิดขึ้นกระทันหัน
        ต้องมีการจัดวางกำลังคน โดยมอบหมายว่าใครมีหน้าที่รับผิดชอบ ใครมีหน้าที่ประสานงาน ในภาวะวิกฤติต้องปฏิบัติตนเช่นไร. เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน และความอยู่รอดขององค์กร 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น