วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

compre Finance

ข้อ 1.1  การคัดเลือกแหล่งเงินทุน เพื่อให้ได้ต้นทุนต่ำสุด
1.  จัดหาแหล่งเงินทุนแบบผสมผสานกันจากหนี้สิน,หุ้นบุริมสิทธิ,หุ้นสามัญ
2.  การจัดหาเงินทุนทุกๆ แหล่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุน และความเสี่ยงซึ่งกระทบต่อต้นทุนเงินทุน
3.  การผสมผสานแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม จะทำให้เกิดโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม และทำให้ต้นทุนถัวเฉลี่ย (WACC) ต่ำสุด
4.  ทำให้มูลค่าของกิจการสูงสุด หรือ ผู้ถือหุ้นเกิดความมั่งคั่งสูงสุด (Stockholder wealth maximization)

การทำให้เงินทุนเกิดประโยชน์สูงสุด
                เมื่อจัดหาเงินจากแหล่งเงินต่างๆ มาแล้ว นักบริหารเงินมีหน้าที่ที่จะต้องจัดสรรเงินทุนเหล่านั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัท  โดยนำไปลงทุนใน สินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งจะต้องคำนึงถึงสภาพคล่องและความสามารถทำกำไร  การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่ต้องพิจารณาถึงอัตราผลตอบแทนและความสี่ยง  และลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่มีลักษณะเป็นโครงการลงทุน ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์โครงการลงทุน เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปในการเลือกลงทุนในโครงการต่างๆ ว่า บริษัทควรลงทุนในโครงการนั้นหรือไม่โดยอาศัยเทคนิคในการวิเคราะห์การลงทุน เช่น ระยะเวลาคืนทุน ( payback period หรือ PB ), ระยะเวลาคืนทุนคิดลด ( discounted payback period หรือ DPB ),  มูลค่าปัจจุบันสุทธิ ( net present value หรือ NPV ) และ อัตราผลตอบแทนภายใน ( internal rate of return หรือ IRR ) เป็นต้น

ข้อ 1.2 แหล่งเงินทุนของธุรกิจก็คือทางด้านขวามือของงบดุล ซึ่งประกอบด้วยหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น โดยสามารถแบ่งตามเกณฑ์ระยะเวลาออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.  แหล่งเงินทุนระยะสั้น  คือ หนี้สินระยะสั้นหรือหนี้สินหมุนเวียนที่มีระยะเวลาครบกำหนดชำระคืนภายใน 1 ปี  ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนภายนอกกิจการ ได้แก่ เจ้าหนี้การค้า ตั๋วเงินจ่าย เงินกู้ระยะสั้น และค่าใช้จ่ายค้างจ่ายต่างๆ
2.  แหล่งเงินทุนระยะยาว  แบ่งออกเป็น 2  ส่วนคือ
 -   หนี้ระยะยาว  ซึ่งเป็นหนี้ที่มีระยะเวลาครบกำหนดชำระคืนเกิน 1 ปี ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนภายนอก ประกอบด้วย เงินกู้ระยะยาว หุ้นกู้หรือพันธบัตร
-         ส่วนของผู้ถือหุ้น  ประกอบด้วย หุ้นบุริมสิทธิและทุนหุ้นสามัญ และกำไรสะสม



ข้อ 1.3

2548
2549
2550
Industry
Current Ratio
สูง
ต่ำกว่า 48
ต่ำกว่า 49
สูงกว่ากิจการ
Quick Ratio
สูง
ต่ำกว่า 48
ต่ำกว่า 49
สูงกว่ากิจการ
DSO Day sales outstanding ระยะเวลาเก็บหนี้
ต่ำ
สูงกว่า 48
สูงกว่า 49
ต่ำกว่ากิจการ
อัตรากำไรสุทธิ
สูง
ต่ำกว่า 48
ต่ำกว่า 49
ต่ำกว่ากิจการ
Total Assets turnover
สูง
ต่ำกว่า 48
ต่ำกว่า 49
สูงกว่ากิจการ
ROE
สูง
ต่ำกว่า 48
ต่ำกว่า 49
สูงกว่ากิจการ
ROA
สูง
ต่ำกว่า 48
ต่ำกว่า 49
สูงกว่ากิจการ


วิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงิน
โดยภาพรวมแล้วบริษัท มีผลประกอบการและฐานะทางการเงินที่ไม่ดีนัก และต่ำกว่าอุตสาหกรรมในทุกๆ ด้าน และมีแนวโน้มแย่ลงอย่างต่อเนื่องจากปี 2548  ทั้งด้านสภาพคล่อง  ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ และประสิทธิภาพในการทำกำไร ยกเว้นอัตราส่วนกำไรสุทธิที่ดีกว่าอุตสาหกรรม แต่ก็มีแนวโน้มลดลง
ควรเพิ่มทุนหรือไม่
ควรเพิ่มทุน เนื่องจากปัญหาหลักของกิจการขณะนี้น่าจะอยู่ที่ปัญหาด้านสภาพคล่อง ซึ่งน่าจะแก้ปัญหาได้ไม่ยากนัก จากการเจรจากับเจ้าหนี้ที่เป็นเจ้าของวัตถุดิบให้มีการเพิ่มระยะเวลาการให้เครดิต และส่วนลดการ  แต่ปัจจัยที่สนับสนุนมีมากมาย เช่น โอกาสทางธุรกิจที่มีคำสั่งซื้อแล้ว อีกทั้งกลุ่มลูกค้าเป็นผู้มีกำลังซื้อ ดังนั้น ลูกค้ากลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายของคู่แข่ง ซึ่งบริษัทควรที่จะรักษาเอาไว้  นอกจากนั้นบริษัทได้มีการเตรียมการเกี่ยวกับสินทรัพย์ถาวรไปแล้วถึง 60%  ดังนั้น หากมีการระงับโครงการ จะทำให้บริษัทเกิดความสูญเสียในหลายด้าน
ข้อ 1.4
โอกาสก่อหนี้แทนการเพิ่มทุน
เป็นไปได้ เนื่องจากปัจจุบันถึงแม้ว่าบริษัทจะมีสัดส่วนของหนี้ต่อทุน (D/E) มากว่า 1:1 แต่บริษัทมีคำสั่งซื้อ และความต้องการสินค้าจากลูกค้า ดังนั้นจึงโอกาสในการทำกำไรได้สูง ทำให้สามารถชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยได้ และมีข้อดีการก่อหนี้จะทำให้ได้รับประโยชน์จากการนำค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยไปหักลดหย่อนภาษีได้ นอกจากนั้น บริษัทยังไม่มีปัญหาอำนาจในการควบคุม 







แถมให้.......
·       สูตรของ Ratio ทั้งหมดแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

1. สภาพคล่อง Liquidity
ความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้นที่ครบกำหนด
1.1
Current Ratio
ส/ทหมุนเวียน / นส.หมุนเวียน
เท่า
1.2
Quick Ratio
(ส/ทหมุนเวียน-สินค้า) / นส.หมุนเวียน
เท่า




2. ประสิทธิภาพส/ทAssets Management
ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์
2.1
Inventory turnover
ขาย  / สินค้าคงเหลือ
ครั้ง
2.2
DSO Day sales outstanding
ลูกหนี้การค้า / ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน
วัน
2.3
Fixed Assets Turnover
ขาย / สินทรัพย์ถาวรสุทธิ
ครั้ง
2.4
Total Assets turnover
ขาย / สินทรัพย์ทั้งสิ้น
ครั้ง




3.อัตราส่วนหนี้สินDebtManagement
การลงทุนในสินทรัพย์ทั้งสิ้นใช้เงินทุนจากหนี้สินเพียงไร
3.1
Debt Ratio
หนี้สินทั้งสิ้น / สินทรัพย์ทั้งสิ้น
%
3.2
Time-interest-earned (TIE)
EBIT / ดอกเบี้ยจ่าย
เท่า
3.3
EBITDA Coverage Ratio
(อ.แสดงว่ากิจการมีกระแสเงินสดพอที่จะชำระคชจ.ประจำทางการเงินได้พียงใด)

D=Depreciation ค่าเสื่อม
EBITDA + Lease Payments
เท่า

A=คชจ.ตัดบัญชี
Interest + Loan repayment + Lease payment





4. อัตราส่วนความสามารถทำกำไร
วัดประสิทธิภาพการบริหารงานว่าบรรลุตามเป้าหมายหรือไม่เพียงใด
4.1
อัตรากำไรสุทธิ
กำไรส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ / ยอดขาย
%
4.2
Basic Earning Power (BEP)
EBIT / สินทรัพย์ทั้งสิ้น
%
4.3
ROA
กำไรส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ / สินทรัพย์ทั้งสิ้น
%
4.4
ROE
กำไรส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ / ส่วนของผู้ถือหุ้น
%

ข้อ 2. วิกฤติการณ์เศรษฐกิจของไทยปัจจุบัน เป็นผลมาจากปัจจัยทั้งภายนอกและภายในประเทศ ด้านปัจจัยภายนอก เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ซึ่งต่างก็เป็นคู่ค้าหรือตลาดส่งออกที่สำคัญ โดยมีพื้นฐานมาจากต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะ น้ำมันมีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยหนึ่งน่าจะมาจากการเก็งกำไรของ Hedge Fund  นอกจากนั้นวิกฤติการณ์ Sub-Prime ยังคงเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่จะก่อให้เกิดปัญหากับระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจของโลก  ด้านปัจจัยภายในประเทศ ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ภาวะเงินเฟ้อ ที่มีสาเหตุมาจากราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับตลาดโลก  ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ฯลฯ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดความวิตกกังวลกับทุกภาคส่วน ภาคครัวเรือนชะลอการบริโภค เนื่องจากยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับกำลังซื้อในอนาคตที่อาจจะลดลงไปเรื่อยๆ จากการที่ค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศชะลอการลงทุน เนื่องจากยังรอความชัดเจนของภาครัฐเกี่ยวกับเมกะโปรเจกต์ต่างๆ เหล่านี้ยิ่งเป็นแรงขับให้เกิดภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ
เป้าหมายหลักของผู้จัดการทางการเงินของธุรกิจ (Financial Management) คือ การทำให้ผู้ถือหุ้นมีความมั่งคั่งสูงสุด หรือ หุ้นสามัญมีราคาสูงสุด ภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม โดยใช้พื้นฐานของการจัดการทางการเงิน เช่น มูลค่าตามเวลาของเงิน และแนวคิดเรื่องความเสี่ยงและผลตอบแทน หลักการตัดสินใจเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ ทางเลือกในการจัดหาแหล่งเงินทุน การบริหารทุนหมุนเวียน นโยบายเงินปันผล ต้นทุนของเงินทุนและโครงสร้างเงินทุนของธุรกิจ การวางแผนทางการเงินระยะสั้นและระยะยาว การประเมินมูลค่าของธุรกิจ และการบริหารความเสี่ยง ภายใต้สภาพแวดล้อมและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ  โดยหน้าที่ของผู้บริหารการเงิน ได้แก่
1.              การพยากรณ์และการวางแผน (Forecasting and planning) 
ก่อนที่จะมีการวางแผนทางการเงินจะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลและ ทำการพยากรณ์ล่วงหน้าเกี่ยว กับเงินก่อน การวางแผนทำได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว และต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจด้วย การวางแผนทางการเงินจะช่วยให้ธุรกิจสามารถคาดการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขไว้เป็นการล่วงหน้า
2.              การตัดสินใจลงทุนและการจัดหาเงินทุน (Investing and Financing)
การตัดสินใจลงทุน (Investment Decision)  การจัดสรรเงินทุนหรือการใช้เงินทุนแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น การลงทุนในเงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ ฯลฯ การตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนแต่ละประเภทต้องก่อให้เกิดความสามารถในการทำกำไรสูงสุด โดยมีสภาพคล่องในระดับที่เหมาะสม  สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เป็นเรื่องของงบประมาณลงทุน (Capital Budgeting)  คือ เป็นการจัดสรรเงินทุนเพื่อลงทุนในโครงการต่างๆ โดยคาดหวังถึงผลตอบแทนที่จะได้ในอนาคต เช่น การลงทุนในอุปกรณ์ อาคาร หรือที่ดิน เป็นต้น 
การตัดสินใจจัดหาเงินทุน (Financing Decision)  ผู้บริหารจะเริ่มจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนต่างๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แหล่งเงินทุนจากหนี้สิน อาจจัดหาได้จากแหล่งหนี้สินระยะสั้นหรือหนี้สินหมุนเวียน เช่น เจ้าหนี้การค้า ตั๋วเงินจ่าย ฯลฯ ส่วนแหล่งหนี้สินระยะยาว เช่น การออกหุ้นกู้ หรือการกู้เงินระยะยาว  สำหรับแหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ  ได้แก่ การออกหุ้นบุริมสิทธิ หรือหุ้นสามัญจำหน่าย เป็นต้น  โดยการพิจารณาในการจัดโครงสร้างเงินทุน โดยมีจุดมุ่งหมายให้ต้นทุนของเงินทุนต่ำสุดและไม่เกิดความเสี่ยงทางการเงินมากเกินไป
3.             การประสานงานและการควบคุม  หน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของนักบริหารเงิน คือ การประสานงานกับส่วนงานอื่นในองค์กร เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน อีกหน้าที่หนึ่งก็คือการควบคุม โดยต้องทำการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานจริงเปรียบเทียบกับแผนงานที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นจะต้องมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
4.             การติดต่อกับตลาดการเงิน  นักบริหารเงินจะต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับช่องทางการจัดหาเงินทุน และช่องทางการลงทุน ตลอดจนตราสารหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุน การลงทุนเพื่อให้เกิดกำไร ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง
ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบัน นักบริหารเงินจะต้องก้าวให้ทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์ การเชื่อมต่อของแต่ละซีกโลกเป็นไปอย่างง่ายดายและรวดเร็ว วิกฤติการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอีกซีกโลกหนึ่ง จะส่งผลกระทบไปยังอีกซีกโลกหนึ่งเพียงชั่วข้ามคืน ดังนั้นนักบริหารเงินจึงหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องติดตามและประเมินสถานการณ์ตลอดจนวางแผนรับมือไว้ล่วงหน้า ซึ่งหมายถึงการมีนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่ดี และด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนไหวเช่นนี้ การดำเนินกิจกรรมทางการเงินต่างๆ จะต้องมีความรัดกุมอย่างมาก ไม่ประมาท และยึดหลักเหตุผลอย่างเคร่งครัด
ข้อ 3 จริยธรรมทางธุรกิจ (business ethics) หมายถึง ทัศนคติและวิธีปฏิบัติของบริษัทต่อพนักงานลูกค้า ชุมชนและผู้ถือหุ้น บริษัทที่จริยธรรมค่อนข้างสูงจะต้องปฏิบัติต่อกลุ่มต่างๆที่มีความเกี่ยวพันกับบริษัท ด้วยความซื่อสัตย์และยุติธรรม เราอาจวัดได้ว่าบริษัทใดมีจริยธรรมหรือไม่ โดยดูแนวโน้มที่บริษัทและพนักงานของบริษัทจะยึดถือกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆในเรื่องความปลดอภัยและคุณภาพของสินค้าที่ผลิต การจ่ายค่าจ้างอย่างยุติธรรม การดำเนินการตลาดและการขายอย่างเป็นธรรม การใช้ข้อมูลลับเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือไม่ การมีส่วนร่วมในชุมชน การถูกปรับและมีการจ่ายเงินอย่างผิดกฎหมายเพื่อให้ได้ธุรกิจมาหรือไม่

ในขณะที่เป้าหมายของการดำเนินธุรกิจ คือ การทำให้บริษัทได้รับกำไรและหุ้นของบริษัทมีมูลค่าสูงสุด แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทต้องตระหนักอยู่เสมอว่า บริษัทอยู่รอดและเติบโตได้ก็ด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ตลอดจนสังคมและส่วนรวม ซึ่งแต่เดิมธุรกิจมักจะเพิกเฉยต่อการมีจริยธรรมทางธุรกิจ เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้ธุรกิจมีต้นทุนเพิ่มและไม่ได้รับกำไรสูงสุด  แต่ในความจริงแล้ว  การมีจริยธรรมทางธุรกิจ จะช่วยสร้างรายได้และส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น จากการที่ลูกค้าพิจารณาเลือกซื้อสินค้าและบริการจากองค์กรที่มีจริยธรรม เช่น การส่งเสริมการขายด้วยการบริจาครายได้ส่วนหนึ่งต่อทุกๆ การซื้อผลิตภัณฑ์ในแต่ละครั้งให้แก่หน่วยงานหรือมูลนิธิที่ช่วย เหลือสังคมในด้านต่างๆ หรือการได้รับประโยชน์จากการวางตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์ (Brand Positioning) ให้อยู่ในใจของลูกค้าเป็นอันดับต้นๆ ในประเภทสินค้าหรือบริการนั้นๆ โดยการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ร่วมกับการทำตลาดผลิตภัณฑ์ เช่น การส่งเสริมการสร้างฝายกั้นน้ำโดยใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นส่วนประกอบสำคัญ เป็นต้น

ดังนั้น จะเห็นว่าการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและมีหลักการบริหารงานแบบบรรษัทภิบาล ก่อให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจอย่างมากทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ทำให้ธุรกิจมีภาพลักษณ์ที่ดี  ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าบริการ ผู้บริโภคมีความจงรักภักดีในตราสินค้า ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และภาครัฐ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในทางกฎหมาย ฯลฯ  และแม้ว่าจะไม่สามารถสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นแต่จะทำให้ธุรกิจ สามารถทำกำไรในระยะยาวและยั่งยืน  

ในทางตรงกันข้ามการดำเนินธุรกิจที่ไม่คำนึงถึงจริยธรรม เช่น ทำลายสภาพแวดล้อมทั้งในด้านน้ำ อากาศ หรือทัศนียภาพ ทำให้สังคมที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้รับความเดือดร้อนรำคาญ กระทบต่อวิถีชีวิต การหาเลี้ยงชีพ หรือเจ็บป่วย เป็นต้น ซึ่งจะนำมาซึ่งปัญหามากมาย เช่น การชุมนุมประท้วง การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ฯลฯ และด้วยกระแสของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค จะส่งผลให้มีการต่อต้านสินค้าและบริการของกิจการ ซึ่งนับรวมแล้วเป็นความเสียหายที่มากกว่าต้นทุนในการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท นอกจากนั้น การแก้ไขภาพลักษณ์เป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก จนอาจส่งผลให้ธุรกิจดำเนินกิจการด้วยความยากลำบาก และอาจต้องปิดกิจการไปในที่สุด
ข้อ 4 ความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน
ความเสี่ยง หมายถึง โอกาสที่เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์จะเกิดขึ้น
1.             ความเสี่ยงพิจารณาได้ 2 แบบ คือ
1.1       stand-alone risk :  ความเสี่ยงจากการถือหลักทรัพย์เพียงตัวเดียว
1.2       portfolio context :  พิจารณาความเสี่ยงหลักทรัพย์เป็นกลุ่ม
2.             ในกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน (portfolio) สามารถแบ่งความเสี่ยงได้ 2 ประเภท คือ
2.1       ความเสี่ยงที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ (diversifiable risk / unsystematic risk / company specific risk )  เป็นความเสี่ยงที่สามารถขจัดหรือหลีกเลี่ยงได้ (โดยการถือหลักทรัพย์หลายตัว) เป็นความเสี่ยงเฉพาะตัวของของหลักทรัพย์หรือบริษัท
2.2       ความเสี่ยงที่สามารถหลีกเลี่ยงไม่ได้ (non - diversifiable risk / systematic risk / market risk) เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ (แม้ว่าจะลงทุนในหลักทรัพย์หลายตัวก็ตาม) เช่น ภาวะเศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น
ดังนั้น ความเสี่ยงที่มีความสำคัญ (Relevant risk) ต่อนักลงทุน คือ ความเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงที่มีความสำคัญ หรือความเสี่ยงทางการตลาด (Relevant or Market risk)สูง จะต้องให้อัตราผลตอบแทนสูงเพื่อชดเชยความเสี่ยงนั้น

อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ (Expected Rate of Return: kL )  คืออัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน ซึ่งสามารถหาได้จากสมการ

kL =
n
S PiKi
i =1

                                            Pi = โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ i
                                                Ki = อัตราผลตอบแทน ถ้าเกิดเหตุการณ์ I

ตัวอย่าง

ตลาด
Prob.
หลักทรัพย์ A
หลักทรัพย์ B
อัตราผลตอบแทน
ผลที่ได้
อัตราผลตอบแทน
ผลที่ได้
ดี
0.3
40%
12.0 %
6 %
1.9 %
ปกติ
0.4
15 %
4.5 %
5 %
1.5 %
ไม่ดี
0.3
-40 %
-12.0 %
4 %
1.2 %
รวม
1.0

kL=4.50 %

kL=4.50 %


จากตัวอย่างจะเห็นว่า ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับเท่ากัน คือ 4.50% แต่ถ้าพิจารณาดูการกระจายของผลตอบแทนของบริษัท B จะแคบกว่า คืออยู่ในช่วง 1.9% - 1.2% ในขณะที่บริษัท A กระจายกว้างกว่า คืออยู่ในช่วง -12% ถึง 12% นั่นหมายความว่า บริษัท A มีการกระจายของอัตราผลตอบแทนหรือมีความเสี่ยงมากกว่าบริษัท B

Risk premium  คือ ผลตอบแทนที่ต้องการเพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนั้น ผลตอบแทนและความเสี่ยง ยังสามารถอธิบายได้ด้วย CAPM: Capital Asset Pricing Model ซึ่งเป็นแบบจำลอง/ตัวแบบในการตั้งราคาหลักทรัพย์  โดยมีแนวความคิดว่า อัตราผลตอบแทนจากหลักทรัพย์ของหุ้นสามัญตัวใดตัวหนึ่ง จะเท่ากับอัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง (Risk-free rate) บวก อัตราผลตอบแทนที่ต้องการเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น (Risk premium) เขียนเป็นสมการได้ดังนี้
        ki             =             kRF + (kM – kRF) bi
            เมื่อ      ki             =             อัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากหุ้นสามัญ i (Required rate of return on stock i)
                        kRF           =             อัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง (Risk-free rate)
kM            =             อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์โดยเฉลี่ย
                        bi             =             beta ของหลักทรัพย์ i
ตัวอย่าง
 หลักทรัพย์
Krf
Krm
b
Ki
X
4.0%
9.0%
1.0
9.0%
Y
4.0%
9.0%
1.5
10.0%


จากตัวอย่างจะเห็นว่าหลักทรัพย์ X มีค่า beta เท่ากับ 1.0 คือ มีความเสี่ยงเท่ากับตลาด ขณะที่หลักทรัพย์ Y มีค่าเท่ากับ 1.5 ซึ่งหมายถึงมีความเสี่ยงมากกว่าตลาด ดังนั้นหลักทรัพ์ Y จึงต้องการส่วนชดเชยความเสี่ยง (Risk Premuim)  นั่นคือ ผลตอบแทนที่มากกว่าหลักทรัพย์ X
ข้อ 5  หลักการแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มุ่งเน้นเรื่องของการพัฒนาที่สมดุลเพื่อตอบรับกับโลกาภิวัฒน์และป้องกันถึงผลกระทบที่มาจากภายในและภายนอกที่เกิดขึ้น หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นประกอบไปด้วยสามองค์ประกอบและ สองเงื่อนไข ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับหลักการบริหารการเงิน ดังนี้
สามองค์ประกอบ ได้แก่
ความพอประมาณ -  พิจารณาการลงทุนอย่างรอบคอบ ไม่ขยายการลงทุน หรือมีการก่อหนี้จนเกินตัว เช่น หากมีโครงการลงทุนหลายโครงการที่ให้อัตราผลตอบแทนที่เท่ากัน อาจเลือกโครงการที่ต้องการเงินลงทุนน้อยที่สุด เป็นต้น
ความมีเหตุผล -  มีการประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ไม่ประมาทหรือการประเมินสถานการณ์ต่างๆ ดีจนเกินไป โดยการยึดหลักเรื่องผลตอบแทนกับความเสี่ยง  เช่น พึงระลึกว่าการลงทุนที่ได้รับอัตราผลตอบแทนสูงย่อมมีความเสี่ยงสูงเช่นกัน  
มีระบบภูมิคุ้มกันในตนเองที่ดี -  การมีเครื่องมือที่ดีในการบริหารความเสี่ยง จะทำให้มีความสามารถในการเผชิญกับผลกระทบจากปัจจัยภายในและภายนอก
สองเงื่อนไข คือ
เงื่อนไขทางความรู้ -  นักบริหารเงินจะต้องมีการศึกษา และติดตามสถานการณ์และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดเงินและตลาดทุนอย่างใกล้ชิด
เงื่อนไขทางคุณธรรม -  การยึดหลักจริยธรรม และธรรมาภิบาล
 ตัวอย่างกรณีของธนาคารพาณิชย์ไทยหลายแห่งที่มีการลงทุนในตราสาร Collateralized Debt Obligation CDOs  เพียงหวังอัตราผลตอบแทนที่สูง เมื่อเกิดวิกฤติ Sub-Prime ทำให้ตราสารเหล่านั้นด้อยค่าลง และก่อให้เกิดมูลค่าความเสียหายอย่างมาก ซึ่งเกิดจากการไม่ยึดหลักความพอเพียง กล่าวคือ ขาดความพอประมาณ โดยไม่ยึดหลักการที่ว่าอัตราผลตอบแทนสูงย่อมมีความเสี่ยงสูง  ขาดเหตุผล โดยการประเมินสถานการณ์ของเศรษฐกิจอเมริกาดีเกินไป ขาดภูมิคุ้มกัน โดยไม่มีการป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารดังกล่าว ขาดความรู้ ในเรื่องตราสารดังกล่างอย่างแท้จริง

ข้อ 1. ในฐานะที่ท่านเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินของบริษัท XYZ จำกัด ท่านได้ตรวจสอบฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท พบข้อมูลเกี่ยวกับอัตราส่วนทางการเงินที่มีนัยสำคัญ ดังนี้
                                Current Raito = 1.5 : 1                          (อัตราส่วนมาตรฐาน = 2 : 1)
                                Quick Ratio  = 1 : 1                               (อัตราส่วนมาตรฐาน = 1.4 : 1)
                                Debt Ratio = 50%                  (อัตราส่วนมาตรฐาน = 35%)
                                Inventory Turnover   = 5 รอบ              (อัตราส่วนมาตรฐาน = 8 รอบ)
                                Fixed Asset Turnover  = 6 รอบ           (อัตราส่วนมาตรฐาน = 7 รอบ)
                                Total Fixed Asset Turnover  = 3 รอบ                 (อัตราส่วนมาตรฐาน = 5 รอบ)
                                Return on Total Assets (ROA) = 8%   (อัตราส่วนมาตรฐาน = 11%)
                                Return on Equity (ROE) = 10%            (อัตราส่วนมาตรฐาน = 15%)
                จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น  ท่านมีความเห็นอย่างไรต่อการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัท และท่านเห็นว่าบริษัทควรจต้องแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานในด้านใดบ้าง

ข้อ 2  ถ้าบริษัทต้องการเพิ่มทุน โดยการออกหุ้นสามัญกับการออกหุ้นกู้ ท่านมีหลักในการพิจารณาในเรื่องนี้อย่างไร และจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างเงินทุน (Capital Structure)  กับต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) ของบริษัทอย่างไร
ตอบ 2.1 ถ้าบริษัทต้องการเพิ่มทุน โดยการออกหุ้นสามัญกับการออกหุ้นกู้ ท่านมีหลักในการพิจารณาในเรื่องนี้อย่างไร
1.               การเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นสามัญ :
                เป็นการหาเงินโดยการเพิ่มทุน มีการออกหุ้นสามัญใหม่จำหน่าย อาจจะจำหน่ายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม เพื่อรักษาสัดส่วนเดิมไว้ไม่เสียสิทธิ์ในการบริหารงาน และผลตอบแทนต่อมาภายหลังได้ บริษัทมีความต้องการเงินทุนที่จะขยายสาขาซึ่งได้มีการออกหุ้นเพิ่มอีก 500 หุ้น จำหน่ายแก่ผู้ถือหุ้นเดิม ฉะนั้น สัดส่วนก็จะยังคงเหมือนเดิม ในทางตรงข้าม ถ้ามีการจำหน่ายหุ้นสามัญออกเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้นรายใหม่ และรายเดิมส่วนหนึ่ง สัดส่วนของผู้ถือหุ้นจะเปลี่ยนไป จะไม่มีความเสี่ยงทางการเงิน ซึ่งเป็นความเสี่ยงเนื่องมาจากการไม่สามารถชำระดอกเบี้ยต่อเจ้าหนี้ได้ แต่ก็คงยังมีความเสี่ยงทางธุรกิจ เช่น ความผันผวนของความต้องการสินค้า, ความผันผวนของราคาขาย, ความผันผวนของราคาปัจจัยในการผลิต, ความสามารถในการปรับราคาขายสินค้า, ความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ทันกับเวลา, ความเสี่ยงที่เกิดจากการค้าขายกับต่างประเทศ และต้อนทุนคงที่ของกิจการ
ข้อดี
-         สามารถระดมเงินได้ง่าย โดยการจำหน่ายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมก่อน
-         ไม่มีความเสี่ยงทางการเงิน ไม่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายประจำ
-         สัดส่วน Ratio Debt Equity ต่ำก่อให้เกิดผลดี
-         ถ้าปีใดบริษัทมีการดำเนินงานไม่ดี ก็จะไม่จ่ายเงินปันผลก็ได้
-         ไม่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนเหมือนพันธบัตร
ข้อเสีย
-         ROE และ EPS ต่ำเมื่อเทียบกับวิธีการหาเงินจากแหล่งหนนี้สิน เพราะเมื่อเพิ่มทุนแล้วทำให้จำนวนมูลค่าและจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น
-         ถ้าอยู่ในภาวะที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง การระดมเงินทุนจากแหล่งนี้อาจจะทำให้ผู้ซื้อหุ้นสามัญบางคนมมองว่าบริษัทอาจจะมีปัญหาในด้านบริหารงาน
-         ต้นทุนของเงินสูงเนื่องจากเงินปันผลไม่สามารถประหยัดภาษีได้
2.               การเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นกู้ :
                เป็นการหาเงินโดยการออกพันธบัตร, หุ้นกู้ ออกจำหน่ายให้กับผู้ซื้อโดยมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตร และหุ้นก็ที่แน่นอน, กำหนดจำนวนปีที่ครบกำหนด, กำหนดมูลค่าราคาไถ่ถอน เช่น พันธบัตรมีราคา 1,000 บาท อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ย 10% การหาเงินทุนจากแปลงนี้ นอกจากจะมีความเสี่ยงทางธุรกิจเหมือนกับการหาเงินทุนจากแหล่งส่วนของเจ้าของแล้ว ยังมีความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้นมาอีก คือ ความเสี่ยงในการชำระค่าใช้จ่ายประจำ (ดอกเบี้ยจ่าย)
ข้อดี
-         สามารถประหยัดภาษีได้ เพราะดอกเบี้ยจ่ายถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษี ถ้าอัตราภาษีสูงเท่าไร ต้นทุนของเงินก็ก็จะยิ่งต่ำลง
-         ค่า ROE และ EPS จะสูงกว่าการหาเงินทุนจากแหล่งส่วนของเจ้าของตามหลัก High Risk High Return ผลกำไรที่ได้ไม่ต้องแบ่งให้ผู้ลงทุนรายใหม่
-         ในภาวะเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองการหาเงินจากแหล่งหนี้สินจะเป็นผลดี เพราะอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนจะมากกว่าต้นทุนของเงินกู้
ข้อเสีย
-         ความเสี่ยงสูงในการจ่ายค่าใช้จ่ายประจำ ถ้าบริษัทมีผลขาดทุนการหาเงินจากแหล่งนี้จะทำให้มีผลขาดทุนเพิ่มขึ้น
-         Debt/Equity Ratio สูง ความเสี่ยงย่อมสูง
-         นอกจากความเสสี่ยงในการจ่ายค่าใช้จ่ายประจำแล้วยังมีความเสี่ยงด้าน Maturity Risk Premium อีกด้วย ถือความเสี่ยงจากระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอน
-         ถ้ามีสัดส่วนหนี้สินสูงทำให้ความสามารถในการกู้ยืมเงินลดลง
-         เสี่ยงต่อการล้มละลาย

ตอบ 2.2   จะมีผลกระทบต่อโครงสร้างเงินทุน (Capital Structure) กับต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) ของบริษัทอย่างไร
โครงสร้างเงินทุน หมายถึง การผสมผสานการใช้เงินทุนจากหนี้สิน หุ้นบุริมสิทธิ์ และหุ้นสามัญ ซึ่งทำให้ราคาหุ้นสามัญสูงสุด
ต้นทุนของเงินทุน (WACC) เช่น ต้นทุนของหนี้สินหลังเสียภาษี ต้นทุนของหุ้นบุริมสิทธิ์ ต้นทุนของหุ้นสามัญ ต้นทุนเสียโอกาส       
สรุป :  ในฐานะเป็นผู้บริหารจะตัดสินใจเลือกโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมที่สุด ประกอบด้วยแปล่งเงินทุนจากทั้งสองแหล่ง คือจากส่วนของเจ้าของ และจากแหล่งหนี้สิน ในสัดส่วนเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าโครงสร้างเงินทุนที่ใช้หนี้สินเท่าไร จึงจะทำให้ราคาหุ้นสามัญสูงสุด และ WACC ต่ำสุด โดยการคำนวณหาราคาหุ้นสามัญ (P0) และ WACC Debt Ratio ระดับต่าง ๆ


ข้อ 3 ถ้าเห็นด้วยหรือไม่ว่าเป้าหมายที่สำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจ คือ การทำกำไรให้ได้สูงสุด ถ้าท่านเป็นผู้บริหารธุรกิจ ท่านจะวางนโยบายการเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ท่านได้วางไว้นั้นอย่างไร และท่านจะต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นใดอีกหรือไม่ ในการกำหนดนโยบายดังกล่าว
ตอบ 3.1 ถ้าเห็นด้วยหรือไม่ว่าเป้าหมายที่สำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจ คือ การทำกำไรให้ได้สูงสุด
                กำไรสูงสุดคือเป้าหมายสูงสุดแต่ไม่ใช่ทั้งหมด วัตถุประสงค์ของบริษัท (Goals of Corporation) คือ ผู้ถือหุ้นมีความมั่งคั่งสูงสด  โดยหมายถึงการทำให้ราคาหุ้นของกิจการสูงสุด  และต้องนึกถึงความรับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรม กฎหมาย  เพราะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า
                1. บริษัทดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ผลิตสินค้าต้นทุนต่ำ คุณภาพดี
                2. บริษัทได้ค้นพบเทคโนโลยีใหม่ และพยายามผลิตสินค้า บริการและสร้างงานใหม่ให้แก่ชุมชนด้วย
                3. บริษัทมีการบริหารงานที่ดี ผลิตสินค้าตามที่ผู้บริโภคต้องการ ทำให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจ  ซึ่งถือว่าให้ประโยชน์แก่สังคมโดยรวม
                4. จริยธรรมทางธุรกิจ โดยกาปฎิบัติต่อที่เกี่ยวข้องด้วยความซื่อสัตย์และยุติธรรม
               
ตอบ 3.2 ถ้าท่านเป็นผู้บริหารธุรกิจ ท่านจะวางนโยบายการเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ท่านได้วางไว้นั้นอย่างไร
1.               Moderate Approach (Maturity Matching) : นโยบายนี้จะจัดหาหนี้สินที่มีระยะเวลาเท่ากับระยะเวลาการลงทุนในสินทรัพย์ คือ การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์หมุนเวียนขั้นต่ำ จะจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะยาว ส่วนสินทรัพย์หมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นเป็นการชั่วคราวจะจัดหาจากแหล่งงเงินกู้ระยะสั้นที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ (Non Spontaneous Debt Financing) เช่น เครื่องจักรอายุ 5 ปี ก็จัดหาเงินโดยการกู้ยืมระยะเวลา 5 ปี แต่มีปัจจัย 2 ประการที่ทำให้กำหนดอายุของเงินทุนที่จัดหามาเท่ากับอายุของสินทรัพย์ได้ยากคือ
a.               อายุของสินทรัพย์อาจไม่แน่นอน เช่น บริษัทลงทุนในสินค้าคงเหลือโดยกู้เงินระยะเวลา 30 วัน เมื่อขายสินค้าได้จะชำระคืนเงินกู้ แต่ปรากฏว่าสินค้าขายได้น้อย จึงไม่สามารถชำระคืนเงินกู้ได้ตามกำหนด
b.               ถ้าจัดหาเงินทุนโดยใช้ส่วนของผู้เป็นเจ้าของ เช่น หุ้นสามัญจะมี่กำหนดเวลาไถ่ถอน
2.               Relatively Aggressive Approach : นโยบายนี้ค่อนข้างจะมีความเสี่ยง คือ สินทรัพย์หมุนเวียนขั้นต่ำบางส่วนจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินกู้ระยะสั้นที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เนื่องจากหนี้สินระยะสั้นมีต้นทุนต่ำกว่าหนี้สินระยะยาว ผู้บริหารที่ชอบเสี่ยงมากจะมีสัดส่วนการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินกู้ระยะสั้นที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติเพื่อการลงทุนในสิ้นทรัพย์หมุนเวียนขั้นต่ำมากขึ้น หรือรวมทั้งการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรบางส่วนด้วยเพื่อแลกกับโอกาสที่จะได้รับกำไรสูงขึ้น
3.               Conservative Approach : นโยบายนี้ถือหลักความปลอดภัย คือไม่ชอบเสี่ยง การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนมีความปลอดภัยเพราะสินทรัพย์หมุนเวียนขั้นต่ำ และสินทรัพย์หมุนเวียนชั่วคราวบางส่วนจัดหามาจากแหล่งเงินทุนระยะยาว ใช้หนี้สินระยะสั้นที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนชั่วคราวช่วงที่มียอดขายสูงบางส่วน เมื่อยอดขายลดลงตามฤดูกาลก็จะนำเงินทุนที่เกินความจำเป็นนี้ไปลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนบ้าง
                สรุป......................................................
ตอบ 3.3 ท่านจะต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นใดอีกหรือไม่
                ปัจจัยภายในบริษัท
                1. การคาดคะเนกำไรต่อหุ้น
                2. ช่ววเวลาที่จะได้รับผลกำไรนั้น
                3. ความเสี่ยงของกำไรที่คาดว่าจะได้รับ
                4. การจัดหาเงินทุนจากหนี้สิน
                5. นโยบายเงินปันผล
                ปัจจัยภายนอก
                1.  ข้อกฎหมายต่าง ๆ
                2.  ภาวะเศรษฐกิจ
                3. กฎหมายภาษีอากร
                4. ภาวะของตลาดหลักทรัพย์

ข้อ 4  ถ้าบริษัทมีโครงการลงทุนซึ่งใช้เงินลงทุนประมาณ 70 ล้านบาท ท่านจะแนะนำให้บริษัทใช้เกณฑ์ในการพิจารณาอะไร ระหว่าง Payback Period, Net Present Value (NPV) Internal Rate of  Return (IRR) ให้ยกเหตุผลประกอบคำตอบของท่านด้วย
ตอบ 4.1   Payback Period ระยะเวลาในการคืนทุน โดยเกณฑ์นี้จะพิจารณาว่าต้องใช้ระยะเวลานานเท่าใดรายได้สุทธิของโครงการจึงจะชดเชยเงินลงทุนของโครงการได้หมด 
                ข้อดี 1. คำนวณง่าย ทราบว่าลงทุนแล้วจะคืนทุนเมื่อไร  โครงการที่คืนทุนเร็วจะมีสภาพคล่องมาก
                        2. ทราบความเสี่ยงของโครงการเบื้องต้น ยึดหลักความปลอดภัยของเงินลงทุน (คืนทุนเร็วย่อมปลอดภัยกว่าคืนทุนช้า)
                ข้อเสีย 1. ไม่คำนึงถึงมูลค่าตามเวลา  การลงทุนจ่ายเงินปี 0 แต่ผลประโยชน์จะทยอยตามมา
                            2. ไม่สนใจกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นหลังจากที่คืนทุนแล้ว
ตอบ 4.2   Net Present Value (NPV) เป็นการคำนวณมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายในแต่ละงวดโดยใช้ต้นทุนของเงินทุนเป็นอัตราส่วนลด โดยค่าที่ได้จะเป็นจำนวนเงิน  ซึ่งถ้า NPV เป็นบวก ควรรับโครงการ  ถ้า NPV เป็นลบ ควรปฎิเสธโครงการ  กรณีที่ค่า NPV เป็นบวกแสดงว่าโครงการนั้นมีผลตอบแทนมากกว่าอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ จึงมีส่วนทำให้กิจการได้ประโยชน์จากการที่มีเงินสดสส่วนเกินเกิดขึ้น ทำให้เกิดผลในด้านบวกต่อ EVA และ MVA
ตอบ 4.3   Internal Rate of Return (IRR) อัตราผลตอบแทนของโครงการที่คาดว่าจะได้รับ  คืออัตราส่วนลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันขอ
กระแสเงินสดจ่าย  โดยค่าที่ได้ออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์  โดยจะเลือกโครงการที่ให้ IRR > ต้นทุนของเงิน  และปฎิเสธโครงการที่ให้ IRR < ต้นทุนของเงิน
ตอบ 4.4   สรุป  ในการพิจารณาโครงการลงทุนนั้นควรใช้ทั้ง 3 ประกอบกันเพื่อช่วยในการตัดสินใจแต่ละโครงการ โดยใช้ Payback Period  เพื่อจะได้ทราบว่าโครงการลงทุนมีความเสี่ยงและสภาพคล่องเพียงไร  อีกทั้งใช้ NPV ช่วยประเมินโครงการว่าให้ผลตอบแทนมากน้อยเพียงใดโดยประเมินในรูปของตัวเงิน  ประกอบกับใช้ IRR ช่วยประเมินว่าโครงการนั้นให้ผลตอบแทนกี่เปอร์เซ็น ซึ่งผู้ตัดสินใจจะชอบมาก  และยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย (Safety Margin) ของโครงการ เช่น โครงการ S มี IRR 65%  โครงการ L มี IRR 15.5% หมายความว่า ผลตอบแทนของโครงการ S สามารถลดลงได้มากกว่าโดยที่ไม่ทำให้โครงการขาดทุน แต่โครงการ L ลดลงได้เล็กน้อย




ข้อ 5  นโยบายเงินปันผลมีความสำคัญอย่างไร และมีผลกระทบต่อราคาหุ้นสามัญของบริษัทอย่างไร  เป็นไปได้หรือไม่ที่บริษัทไม่ประกาศจ่ายเงินปันผลเลย  แต่หุ้นสามัญของบริษัทก็ยังคงได้รับความนิยมจากการผู้ลงทุนที่อยากจะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท  ให้อธิบายและยกเหตุผลประกอบ
ตอบ 5.1 นโยบายเงินปันผลมีความสำคัญอย่างไร
ทฤษฎีเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผลที่สำคัญมี 3 ทฤษฎี (ต้องจำให้ได้)
1.The Dividend – Irrelevance Theory การนำไปใช้จะกำหนดอัตราเงินปันผลที่เท่าไหร่ก็ได้
                - นโยบายเงินปันผลไม่กระทบต่อราคาหุ้นสามัญหรือต้นทุนของเงินทุน
                - มูลค่าของกิจการจะถูกกำหนดโดยความสามารถในการทำกำไร และความเสี่ยงทางธุรกิจเท่านั้น
                - มูลค่าของกิจการขึ้นอยู่กับรายได้ที่เกิดจากสินทรัพย์ของบริษัท ไม่ใช่การนำผลกำไรมาแบ่งเป็นเงินปันผลเหลือไว้เป็นกำไรสะสม
                ถ้าบริษัทไม่จ่ายเงินปันผล ผู้ลงทุนก็สามารถขายหุ้นที่มีอยู่ออกไปได้ หรือถ้าได้รับเงินปันผลมากกว่าที่คิดไว้ก็จะนำมาซื้อหุ้นเพิ่ม (โดย M&M มีข้อสมมุติที่สำคัญคือ ไม่มีค่าภาษี และไม่มีค่านายหน้าในการซื้อขายหุ้นสามัญ ซึ่งเป็นข้อสมมติที่ไม่เป็นความจริง
2. The Bird In Hand Theory การนำไปใช้จะกำหนดอัตราเงินปันผลไว้สูง
                ทฤษฏีนี้กล่าวไว้ว่า มูงค่าของกิจการจะสูงสุดถ้ากำหนดอัตราการจ่ายเงินปันผลไว้สูง
                ต้นทุนของเงินทุนจะลดลง ถ้าบริษัทจ่ายเงินปันผลสูงขึ้น เพราะผู้ลงทุนมีความมั่นใจเกี่ยวกับกำไรส่วนทุนในอนาคตที่จะได้รับน้อยกว่าการได้รับเงินปันผล และเงินปันผลในปัจจุบันมีความแน่นอนมากกว่ากำไรส่วนทุน เพราะอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับมีความเสี่ยงมากกว่า
3. The Tax Preference Theory  การนำไปใช้จะกำหนดอัตราเงินปันผลไว้ต่ำ
                ทฤษฎีนี้มีเหตุผลเกี่ยวกับภาษี 3 ประการ ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนชอบเงินปันผลที่ต่ำคือ
                3.1 อัตราภาษีของเงินปันผลสูงกว่ากำไรส่วนทุน ผู้ลงทุนยินดีให้กิจการนำกำไรส่วนใหญ่ไปลงทุนเพื่อทำให้ราคาหุ้นสามัญสูงขึ้น ทำให้ผู้ลงทุนได้รับประโยชน์จากการขายห้วุนสามัฐได้ในราคาสูง แต่เสียภาษีจากกำไรส่วนทุนต่ำ
                3.2 ภาษีของกำรส่วนทุน ผู้ลงทุนยังไม่ต้องจ่ายจนกว่าจะขายหุ้นนั้นได้ เงินภาษีที่จ่ายในอนาคตจึงมีต้นทุนที่แท้จริงต่ำกว่าปัจจุบัน
                3.3 เมื่อผู้ถือหุ้นถึงแก่กรรม ผู้รับมรดก จะใช้มูลค่าหุ้น ณ. นที่ผู้ถือหุ้นถึงแก่กรรมเป็นต้นทุนของหุ้นได้ แม้ว่าหุ้นจะมีราคาสูงกว่าราคาที่ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อไว้ก็ไม่ต้องเสียภาษีจากกำไรส่วนทุน
                สรุป ทฤษฏีเงินปันผลใดดีที่สุด ไม่สามารถที่จะระบุได้ จะแล้วแต่มุมมองและความพึงพอใจ

ตอบ 5.2 มีผลกระทบต่อราคาหุ้นสามัญของบริษัทอย่างไร
                การคิดเงินปันผลจะเกิดจากการที่บริษัทนำเงินที่ได้จากการออกหุ้น แล้วนำเงินไปทำธุรกิจ จนก่อให้เกิดผลกำไร โดยกำไรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
                ส่วนที่ 1 บริษัทจะนำเงินที่เป็นกำไรในปีนี้ไปลงทุนโครงการในปีหน้า เรียกว่า กำไรส่วนทุน
                ส่วนที่ 2 กำไรที่เหลือจากกำไรส่วนทุน บริษัทจะนำเงินส่วนนี้มาเฉลี่ยต่อหุ้น บริษัทก็จะประกาศจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นว่าจะจ่ายต่อหุ้นเป็นจำนวนเท่าไหร่ การประกาศจ่ายเงินปันผลแต่ละปี มีผลต่อจิตวิทยาในการลงทุนของนักลงทุน โดยนักลงทุนจะมองว่าการจ่ายเงินปันผลในแต่ละปีของบริษัทจะมากหรือน้อย เกิดจากความสามารถในการทำกำไรของบริษัทได้ ก็จะมีผลต่อราคาหุ้นในสถานการณ์นั้นๆ ในแต่ละปี
                ในความคิดเห็นของการวางนโยบายเงินปันผลของบริษัท ควรจะใช้นโยบายเงินปันผลปีแรกต่ำ แล้วค่อยๆ เพิ่มทีละนิดในปีต่อๆ ไป เพื่อนักลงทุนจะได้มองว่า บริษัทมีผลประกอบการอยู่ในเกณฑ์ดี มีความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ส่งผลให้ราคาหุ้นอยู่ในสภาพที่เหมาะสม
                นักลงทุนจะคิดคำนวนอยู่เสมอถึงการลงทุน ความเสี่ยงกับอัตราผลตอบแทนที่จะได้รับ เหมาะสมกับการลงทุนหรือไม่

ตอบ 5.3 เป็นไปได้หรือไม่ที่บริษัทไม่ประกาศจ่ายเงินปันผลเลย
                เป็นไปได้ คือ
                1. กรณีที่ผลประกอบการของบริษัทขาดทุน ทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้แต่ในกรณีที่เป็นหุ้นกู้นั้น ทางบริษัทจะต้องจ่ายดอกเบี้ยจ่ายซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นประจำ ไม่ว่าบริษัทจะขาดทุนก็ตาม  ต่างจากหุ้นสามัญที่เงินปันผลได้มาจากกำไรจากดำเนินงาน ฉะนั้นการไม่ประกาศจ่ายเงินปันผลแก่หุ้นสามัญสามารถทำได้
                2. กรณีที่บริษัทมีโครงการลงทุนใหม่
               
ตอบ 5.4 บริษัทไม่ประกาศจ่ายเงินปันผลเลย  แต่หุ้นสามัญของบริษัทก็ยังคงได้รับความนิยมจากการผู้ลงทุนที่อยากจะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท  ให้อธิบายและยกเหตุผลประกอบ
                1. อำนาจในการบริหารบริษัท เนื่องจากผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิ์เลือกคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการบริษัทจะเลือกผู้บริหารมาดำเนินงานบริษัทต่อไป ซึ่งถ้าบริหารงานได้มีประสิทธิภาพจนทำให้บริษัทมีกำไร ก็สามารถจ่ายเงินปันผลได้
                2. มีโอกาสที่จะได้รับกำไรจากการขายหุ้น  ผู้ลงทุนอาจได้กำไรจากการขายหุ้นสามัญเพราะขายหุ้นในราคาสูงกว่าราคาทุน เช่น ตัวอย่าง บริษัท อัลไลด์ จำกัด ปี 2002 มูลค่าตามราคาตลาดในส่วนของเจ้าของ ณ 31 ธันวาคม 2002 เท่ากับ 1,150 ล้านบาท  แต่ตัวเลขแสดงส่วนของเจ้าของตามที่ปรากฏในงบดุล เท่ากับ 896 ล้านบาท  ดังนั้น MVA จึงเท่ากับ 1,150 - 896 = 254 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างเงินที่ผู้ถือหุ้นได้จ่ายลงทุนเมื่อเริ่มตั้งบริษัท บวกกับกำไรสะสมที่ทำมาหาได้จนถึงปัจจุบัน ไปเปรียบเทียบกับเงินที่จะได้จาการขายธุรกิจนี้
 

4 ความคิดเห็น: