วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Compreข้อสอบการเงิน

แนวคำตอบวิชาการจัดการการเงิน 29/4/52 อ.พูนศักดิ์
ข้อ 1. มีข้อย่อย 3 ข้อ (30 คะแนน)
ข้อ 1.1 อาจารย์ให้ Ratio ย้อนหลังมา 3 ปี และให้ค่ามาตรฐานอุตสาหกรรมมาด้วย ให้อธิบายและวิเคราะห์พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะว่าควรปรับปรุงหรือแก้ไขในแต่ละด้านอย่างไร ???
Ratio
1998
1999
2000
ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม
Current Ratio
0.63
0.7
0.75
1
Inventory Turnover
8.37
6.68
6.68
5.91
DSO
31
29
29
31
Debt Ratio
50%
50%
40%
55%
Total Asset Turnover
1.46
1.43
1.42
1.44
Net Profit
9.06
3.38
1.76
3.1
ROA
14.04
4,89
1.54
4.57
ROE
32.2
10.39
5.49
10.1

แนวตอบ :
1.) Current Ratio                            อัตราส่วนหมุนเวียน  =  สินทรัพย์หมุนเวียน
                                                                              หนี้สินหมุนเวียน
สินทรัพย์หมุนเวียน ประกอบไปด้วย เงินสด, ลูกหนี้การค้า, สินค้าคงเหลือ 
อัตราส่วนหมุนเวียนของอุตสาหกรรมเมีแนวโน้มดีขึ้นทุกปี แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมแสดงให้เห็นว่าบริษัทมีการจัดหาเงินทุนจากการกู้เงินและนำมาลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากเกินไป สินทรัพย์สภาพคล่องน้อย กว่าอุตสาหกรรม จึงทำให้บริษัทต้องคิดหาแนวทางที่จะเพิ่มสภาพคล่องของสินทรัพย์หมุนเวียน เพื่อเสริมต่อสภาพคล่องในอนาคต
แนวทางการแก้ปัญหา :
                การที่สินทรัพย์หมุนเวียนมีน้อยกว่า ค่าเฉลี่ยมาตรฐาน บริษัทจะต้องแก้ปัญหาโดยการขายสินทรัพย์ถาวรที่ไม่จำเป็น เพื่อที่จะได้เงินสดมา ซึ่งเงินสดเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์หมุนเวียน ก็จะทำให้สินทรัพย์หมุนเวียนของบริษัทเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ อัตราส่วนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ในระยะยาวจะทำให้บริษัทเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธุรกิจหรือขายสินทรัพย์ถาวรที่ไม่จำเป็นออกไป ได้เงินสดมา บริษัทก็เอาเงินที่ได้มาไปใช้หนี้สิน ทำให้หนี้สินหมุนเวียนลดลง ส่งผลทำให้อัตราส่วนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นได้ เพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธุรกิจได้ในอนาคต
2.) Inventory Turnover                        อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ  =  ยอดขาย
                                                                                               สินค้าคงเหลือ
อัตราส่วนการหมุนของสินค้าคงเหลือ จะแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายกับสินค้าคงเหลือของบริษัท จากโจทย์ ของบริษัทมีอัตราการหมุนของสินค้ามีแนวโน้มลดลง แต่ยังถือว่ามีสูงกว่าค่ามาตรฐานแสดงว่าบริษัทมีการจัดการในเรื่องของยอดขายกับสินค้าคงเหลือ ต่ำกว่ามาตรฐาน  แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แนวทางแก้ปัญหา :
บริษัทมีแนวทางแก้ปัญหา อยู่ 2 แนวทางคือเพิ่มยอดขายในปัจจุบันให้มากขึ้น หรือ ลดสินค้าคงเหลือให้มีเท่าที่จำเป็นเท่านั้น การที่สินค้าคงเหลือมีมากเกินความจำเป็นอาจส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา หรือสินค้าอาจมีการเสียหาย จากการหมดอายุก็ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อเราเพิ่มยอดขาย หรือ ลดสินค้าคงเหลือให้มีเท่าที่จำเป็น ก็จะทำให้อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น
3.)DSO                                                   ระยะเวลาเก็บหนี้ถัวเฉลี่ย  =  ลูกหนี้
                                                                               ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน
อัตราส่วนระยะเวลาเก็บหนี้ถัวเฉลี่ย  จะแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียนของลูกหนี้ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ จนกระทั่งเรียกเก็บหนี้ได้นั้น ใช้ระยะเวลานานเท่าใด จำนวนวันยิ่งน้อย แสดงว่าลูกหนี้ยิ่งมีสภาพคล่องสูงยอดขายกับสินค้าคงเหลือของบริษัท จากโจทย์ ของบริษัทมีอัตราการหมุนของสินค้ามีแนวโน้มลดลง และมีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานแสดงว่าบริษัทมีการจัดการในเรื่องของยอดขายกับสินค้าคงเหลือดีกว่ามาตรฐาน  แสดงว่ากิจการมีการเก็บหนี้ได้เร็ว เงินจะไม่ไปจมที่ลูกหนี้มากไป สามารถ  เอาเงินไปทำประโยชน์ได้ก่อนนำไปจ่ายเจ้าหนี้
แนวทางแก้ปัญหา :
การที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่ามาตรฐานอุตสาหกรรม  ถือว่าบริษัทสามารถบริหารลูกหนี้ได้ดี และดีกว่าค่ามาตรฐานอุตสาหกรรม  ซึ่งจะต้องรักษาจุดแข็งในเรื่องของกรให้เครดิตลูกหนี้ไว้เนื่องจาก จะมีผลกับสภาพคล่องได้   
4.)Debt Ratio                                        อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์     =    หนี้สินรวม
                                                                                                 สินทรัพย์รวม
เป็นอัตราส่วนที่ชี้ให้เห็นถึงการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัท ว่ามีความสมดุลหรือมีความสัมพันธ์กันอย่างไร  ถ้าอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่าได้ใช้เงินทุนจากหนี้สินมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น ความเสี่ยงทางการเงินก็จะสูง (Financial risk) โอกาสก่อหนี้เพิ่มจะลดลง จากโจทย์จะเห็นว่า แนวโน้มของอัตราส่วนนี้ของบริษัทอยู่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงน้อยกว่าธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน โอกาสก่อหนี้เพิ่มจะเพิ่มขึ้น
แนวทางแก้ปัญหา :
การที่ค่าของอัตราส่วนดีกว่าอุตสาหกรรมแสดงว่าบริษัทยังสามารถก่อหนี้ได้เพิ่มอีก แต่ในการพิจารณาก่อหนี้เพิ่มจะต้องระวังในเรื่องของหนี้สินที่สูงเกินไป เพราะจะทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นบริษัทจะต้องพยายามลดหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลงให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ และควรสั่งซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็นต่อการทำรายได้ของบริษัทเท่าที่จำเป็นเท่านั้น (ไม่ให้มีเจ้าหนี้มากเกินไป)  เมื่อหนี้สินลดลง อัตราส่วนหนี้สินก็จะลดลงตามไปด้วย
5.)Total Asset Turnover                     อัตราส่วนการหมุนของสินทรัพย์     =    ยอดขาย
                                                                                                     สินทรัพย์รวม
เป็นอัตราส่วนที่จะบอกให้ทราบถึง ประสิทธิภาพของการใช้สินทรัพย์ของธุรกิจว่าทำให้เกิดยอดขายเป็นอย่างไร อัตราส่วนสูงแสดงว่าประสิทธิภาพสูง จากโจทย์จะเห็นว่า แนวโน้มของอัตราส่วนนี้ของบริษัทน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม (ลดลงทุกปี)
แนวทางแก้ปัญหา :
การที่ค่าของอัตราส่วนต่ำกว่าอุตสาหกรรมแสดงว่าบริษัทบริหารสินทรัพย์ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นบริษัทจะต้องพิจารณาการลงทุนให้ดีทั้ง 2  ส่วน คือ Current Asset และ  Fixed Asset  โดยดูว่าเป็นสินทรพัย์ที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่ มีสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เยอะเกินไปหรือไม่ แล้วจึงพิจารณาลดส่วนนั้นลงไป
6.)Net Profit                                          อัตราส่วน กำไรสุทธิ                 =    กำไรสุทธิ
                                                                                                ยอดขายรวม
เป็นอัตราส่วนที่จะบอกให้ทราบถึงความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการให้เกิดกำไรเท่าไร ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ  โดยกำไรสุทธิเป็นกำไรขั้นสุดท้ายหลังจากนำค่าใช้จ่ายทางการเงิน คือ ดอกเบี้ย และภาษีเงินได้มาหักออกจากกำไรจากการดำเนินงานแล้ว จากโจทย์จะเห็นว่า แนวโน้มของอัตราส่วนนี้ของบริษัทน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม และลดลงทุกปี
แนวทางแก้ปัญหา :
การที่ค่าของอัตราส่วนต่ำกว่าอุตสาหกรรมแสดงว่าบริษัทบริหารสินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการให้เกิดกำไรได้น้อยกว่าธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน และจากการที่แนวโน้มลดลงทุกปี บริษัทจะต้องพิจาณาหาสาเหตุของกำไรที่น้อยเกินไป  โดยจะต้องพิจาณาในส่วนของต้นทุน และค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป และหาทางควมคุมต้นทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม  และอีกส่วนที่ต้องพิจารณาด้วยคือส่วนของการกู้ยืมที่สูงเกินไปหรือไม่ เพราะการกู้ยืมสูงจะทำให้บริษัทมีภาระดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้นด้วย ดังนั้นจะต้องพยายามลดในส่วนของต้นทุนและดอกเบี้ยลง
7.) ROA                                 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์  =    กำไรสุทธิ
                                                                                      สินทรัพย์รวม
ค่าที่ได้ อาจจะเนื่องมาจาก 1) ความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์ (BEP) และ 2) ภาระหนี้สินของบริษัท ทำให้ต้องเสียดอกเบี้ย ส่งผลโดยตรงต่อกำไรสุทธิ ค่าที่ได้อย่างน้อยควรได้เท่ากับค่ามาตรฐานเพราะจะ แสดงให้เห็นถึง การบริหารสินทรัพย์ก่อให้เกิดกำไรเมื่อเทียบค่ามาตรฐานแล้วดีกว่าหรือไม่ จากโจทย์ ROA ของบริษัทต่ำกว่าอุตสาหกรรม และมีแนวโน้มลดลงไปทุกปี แสดงให้เห็นถึง การบริหารสินทรัพย์ก่อให้เกิดกำไร ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ซึ่งส่วนของกำไรบริษัทจะเกิดจาก รายได้หักด้วยค่าใช้จ่าย บริษัทจึงควรจะมีการปรับค่า ROA ให้ได้อย่างน้อยเท่ากับค่ามาตรฐาน
แนวทางแก้ปัญหา :
บริษัทควรจะหารายได้เพิ่มขึ้น และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป กำไรสุทธิก็จะเพิ่มขึ้น กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือ หุ้นสามัญก็จะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ ROA ของบริษัทเพิ่มขึ้นได้
7.) ROE                  อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น  =    กำไรสุทธิ
                                                                                      ส่วนของผู้ถือหุ้น
จากโจทย์ ROE ของบริษัทของบริษัทต่ำกว่าอุตสาหกรรม และมีแนวโน้มลดลงไปทุกปี แสดงให้เห็นถึง ความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ซึ่งส่วนของกำไรบริษัทจะเกิดจาก รายได้หักด้วยค่าใช้จ่าย บริษัทจึงควรจะมีการปรับค่า ROE ให้ได้อย่างน้อยเท่ากับค่ามาตรฐาน
แนวทางแก้ปัญหา :
บริษัทควรจะหารายได้เพิ่มขึ้น และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป กำไรสุทธิก็จะเพิ่มขึ้น กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือ หุ้นสามัญก็จะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนส่วนของผู้เป็นเจ้าของ ROE ของบริษัทเพิ่มขึ้นได้



ข้อ 1.2 อัตราส่วนการเงินช่วยอะไรให้กับผู้บริหารและนักลงทุน อธิบายเหตุผลประกอบ ???
แนวตอบ :
ประโยชน์ในการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน สามารถมองได้ 2 มุมมองหลัก ๆ คือ มุมมองของผู้บริหารและมุมมองของนักลงทุน  สามารถอธิบายได้ดังนี้
1. มุมมองของผู้บริหาร ผู้บริหารจะใช้การวิเคราะห์งบการเงินเพื่อดูผลงานฝนอดีตที่ผ่านมาว่ากิจการมีข้อดี ข้อเสีย / จุดเด่น จุดด้อยในการบริหารงานที่ผ่านมายังไงบ้าง  การบริหารงานทำให้กิจการเกิดผลกำไรหรือขาดทุนจากสาเหตุใด เพื่อนำไปคาดคะเนวางแผนงานในอนาคต ในการป้องกัน ปรับปรุงและแก้ไขการบริหารงานต่อไป  โดยดูว่าจุดอ่อนที่มี ต้องแก้ไขยังไง  และ จุดแข็งที่มีอยู่ จะใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร
2. มุมมองของนักลงทุน นักลงทุนใช้การวิเคราะห์งบการเงินเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตเช่นเดียวกับผู้บริหาร แต่นักลงทุนจะเน้นในเรื่องของผลกำไร หรือผลตอบแทนที่ได้รับจากการพิจารณาเข้าไปลงทุนในกิจการ ดูว่าได้รับผลตอบแทนมากน้อยเพียงใด  คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปหรือไม่ โดยเทียบแนวโน้มจากอดีต และนำไปวิเคราะหืแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ถ้าแนวโน้มดี มีผลกำไรเกิดขึ้น ก็จะตัดสินใจเข้าไปลงทุน เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนกลับมา  ในรูปของเงินปันผล หรือส่วนต่างจากการซื้อขายเงินลงทุน
ข้อ 1.3 โครงการมีเงินลงทุน 10 ล้าน ระยะเวลา 5 ปี NPVมีค่าเป็นบวก 500,000 บาท WACC 12%  IRR 18% ถ้าจะลงทุนด้วยการกู้หนี้ระยะยาวเห็นด้วยหรือไม่ ควรลงทุนหรือไม่ อย่างไร???
 แนวตอบ :
                จากโจทย์จะอธิบายการตัดสินใจในการเลือกลงทุนในการกู้หนี้ระยะยาวโดยการพิจารณาทีละส่วนได้ดังนี้
                1.NPV เป็น บวก 500,000 บาท : หมายความว่า  กระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายของโครงการนี้สุทธิแล้วมีค่าเป็น  บวก 500,000 บาท นั่นคือเกิด Cash Flow เข้ามากกว่า Cash Flow ออก
                จาก  NPV  =  กระแสเงินสดเข้า =  กระแสเงินสดออก  ดังนั้นเมื่อ  กระแสเงินสดเข้า >  กระแสเงินสดออก จะหมายความว่าเกิดผลกำไรจากกระแสเงินสดนี้  จึงเลือกพิจารณาลงทุนในโครงการนี้
                2. WACC 12%  หมายถึง กิจการมีต้นทุนของเงินทุนถัวเฉลี่ยอยู่ที่ 12% ซึ่ง WACC นี้เป็นต้นทุนของเงินทุนที่ผสมผสานกันระหว่าง ต้นทุนจากหนี้สินและต้นทุนจากส่วนของเจ้าของ ซึ่งการจัดโครงสร้างทางการเงินที่ดีที่สุด จะต้องมีสัดส่วนของหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของที่จัดหามาเป็นเงินทุนอยู่ที่ 40 : 60 ส่วน จุงจะถือเป็นโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม และดีที่สุด ซึ่งทำให้ WACC มีค่าต่ำสุด และราคาหุ้นสามัญมีค่าสูงสุด โดยปกติแล้วอยู่ที่ WACC = 10% 
                ซึ่งจากการที่ค่า WACC อยู่ที่ 12% จะถือว่าใกล้เคียงกับสัดส่วนโครงสร้างเงินทุนที่ดีที่สุด ซึ่งการที่จะตัดสินใจลงทุนนั้น จะต้องนำ WACC ไปเปรียบเทียบกับผลตอบแทนการลงทุนด้วย
                3.IRR = 18% หมายถึง ผลตอบแทนจากการลงทุนในโครงการนี้ = 18%  ซึ่งจะต้องพิจารณาว่า IRR ซึ่งเป็นผลตอบแทนการลงทุนนั้นมีค่ามากกว่าต้นทุนของเงินทุนที่ลงทุนไปหรือไม่  ถ้ามีค่ามากกว่าก็แสดงว่าหากลงทุนในโครงการนี้ไปแล้ว กิจการจะเกิดผลกำไร หรือผลตอบแทนการลงทุน
                กลาวโดยสรุปแล้วจะเลือกลงทุนในโครงการนี้ด้วยหนี้สินระยะยาวในการลงทุน (สัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมที่ WACC = 12%) โดยพิจารณาจากทั้ง 3 ส่วนที่กล่าวมาแล้ว นั่นคือ NPV เป็นบวก , IRR > WACC ซึ่งหากเลือกลงทุนในโครงการนี้แล้วจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนกลับคืนมา
ข้อ 2. สินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวรแตกต่างกันอย่างไร อธิบายเหตุผลประกอบ และมีนโยบายบริหารทั้ง 2 ส่วนอย่างไร (20 คะแนน)???
แนวตอบ :
สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) คือ  สินทรัพย์สภาพคล่องที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย เช่น เงินสดและเงินฝากธนาคาร  ลูกหนี้การค้า  สินค้าคงเหลือ เป็นต้น  ซึ่ง สินทรัพย์หมุนเวียนนี้จะมีสินค้าคงเหลือที่เป็นตัวที่ทำให้เกิดกำไรโดยตรง   ดังนั้นกิจการจะต้องหมุนสินค้าให้เร็วที่สุด เพื่อให้เกิดสภาพคล่อง ถ้าขายเป็นเงินเชื่อก็ต้องเก็บเงินให้เร็วเพื่อหมุนกลับมาเป็นเงินสดนำไปลงทุนต่อเป็นสินค้าเพื่อขายไป และต้องสอดคล้องกับหนี้ระยะสั้นที่ก่อไว้ด้วยเพื่อประโยชน์ในการบริหารสภาพคล่องเพื่อการชำระหนี้ระยะสั้นได้ทัน
สินทรัพย์ถาวร (Fix Asset) คือ สินทรัพย์ที่มีลักษณะคงทนถาวรเพื่อไว้ใช้ในการดำเนินงานตามปกติของกิจการและมีอายุการใช้งานนานกว่า 1 ปี  ถือเป็นสินทรพัย์ที่มีสภาพคล่องต่ำกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักรฯ เป็นต้น เป็นตัวสนับสนุนให้กิจการดำเนินไปโดยปกติเพื่อให้เกิดรายได้  ซึ่งสินทรัพย์ถาวรไม่จเป็นต้องมีก็ได้ เพราะอาจพิจารณาโดยการเช่า หรือทำ Leasing มาเพื่อใช้ในกิจการก็ได้ ซึ่งการเช่าหรือ Leasing มานั้นจะไม่ปรากฎรายการในงบดุลของกิจการ  ซึ่งค่าเช่านี้ยังสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่าย ในการคำนวณเพื่อเสียภาษีได้  แต่กิจการจะต้องทำการเปรียบเทียบก่อนว่าการซื้อหรือเช่าจึงจะดีกว่า
นโยบายการบริหารสินทรัพย์ทั้งสองส่วน  เราจะพิจารณาได้ดังนี้
1.                           การลงทุนใน สินทรัพย์หมุนเวียน ควรจะจัดหาเงินทุนจากแหล่งหนี้สินระยะสั้น เนื่องจากต้นทุนของหนี้สินระยะสั้น(ดอกเบี้ย) จะต่ำกว่าระยะยาว  อีกทั้งระยะเวลาการยื่นขอกู้ไม่นาน แต่มีข้อเสียนเรื่องของความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย ณ ขณะนั้น
2.                           การลงทุนในสินทรพัย์ถาวร ควรจะจัดหาเงินลงทุนจากแหล่งหนี้สินระยะยาว เนื่องจากมีระยะเวลาการจ่ายคืนที่ยาวกว่า ถึงแม้ดอกเบี้ยที่จะต้องจ่าย จะสูงกว่า ใช้เวลาใรการยื่นขอกู้นานกว่า แต่จะมีความเสี่ยงในการจ่ายคืนหนี้น้อยกว่า เนื่องจากระยะเวลาชำระคืนที่ยาวนานนี้เอง
กล่าวโดยสรุปเรื่องการพิจารณาลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวรจะต้องพิจารณาหลาย ๆ องค์ประกอบร่วมกันขึ้นอยู่กับทัศนคติทางธุรกิจของผู้บริหาร ว่าจะต้องการให้เป็นแบบไหน เนื่องจากทั้ง 2 ส่วนนี้จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน

ข้อ 3. มีข้อย่อย 2 ข้อ (30 คะแนน)
    ข้อ 3.1 โครงสร้างเงินทุนมีความสำคัญอย่างไร และสัมพันธ์กับ WACC อย่างไร ส่งผลอย่างไรกับบริษัท???
แนวตอบ :
                โครงสร้างของเงินทุน คือ การผสมผสานกันระหว่างการใช้เงินทุนในส่วนของหนี้สินและส่วนของเจ้าของได้อย่างเป็นไปตามเป้าหมายของกิจการ ซึ่งโครงสร้างของเงินทุนนี้จะไม่สามารถกำหนดค่าได้แน่นอน แต่จะขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ แต่ละธุรกิจ
                นโยบายโครงสร้างเงินทุนเน้นเรื่องของการแลกเปลี่ยนชดเชย (Trade-Off) กันระหว่าง 2 ส่วนที่สำคัญคือ ความเสี่ยง (Risk) และ ผลตอบแทน (Return)  ดังนี้
-         การก่อหนี้เพิ่มขึ้น     à ความเสี่ยงของผู้ถือหุ้นสูงขึ้น
-         อัตราส่วนหนี้สินสูง à ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับสูงตาม
ซึ่งโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมที่สุด จะต้องมีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่สมดุลกัน นั่นคือโครงสร้างเงินทุนที่มีค่า WACC (ต้นทุนของเงินทุนถัวเฉลี่ย)ต่ำที่สุด ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นสามัญสูงที่สุด
WACC คือ ต้นทุนของเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ที่เราใช้ต้นทุนถัวเฉลี่ยก็เนื่องจากการจัดหาเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ นั้น แต่ละแหล่งจะมีต้นทุนของเงินทุนที่แตกต่างกัน
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม คือมีค่า WACC (ต้นทุนของเงินทุนถัวเฉลี่ย)ต่ำที่สุด จะทำให้ราคาหุ้นสามัญสูงที่สุด ซึ่งความสัมพันธ์กันกล่าวโดยสรุปคือ โครงสร้างของเงินทุน กับต้นทุนของเงินทุน WACC มีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกัน นั่นคือ โครงสร้างของเงินทุนเพิ่มขึ้น à ต้นทุนของเงินทุนหรือ WACC จะสูงขึ้นตามไปด้วย  โดยทั้ง 2 ส่วนนี้จะมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริหารที่จะตัดสินใจเลือกจัดหาทุนจากแหล่งใดเป็นจำนวนเท่าใด ที่ต้องพิจารณาสภาพเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจ
  - ถ้าเศรษฐกิจดี à เลือกลงทุนในหุ้นกู้ (หนี้สิน) à เพราะสามารถบริหารสภาพคล่องให้สามารถจ่ายคืนหนี้ได้
- ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี à เลือกลงทุนในหุ้นสามัญ (ส่วนของเจ้าของ) à เพราะสามารถบริหารกิจการโดยไม่ต้องมีการจ่ายชำระคืน

ข้อ 3.2 โครงสร้างเงินทุนมีทั้งหมด 4 แบบ ท่านคิดว่าแบบใดที่เป็นโครงสร้างที่ดีที่สุด โปรดวิจารณ์และวิเคราะห์ และยกเหตุผลประกอบ ???
โครงสร้างของเงินทุน            A                 B                     C                  D
         หนี้สิน                           10               40                    60                 80
         ส่วนของผู้ถึอหุ้น           90               60                    40                 20
         รวม                              100             100                  100                100
แนวตอบ :   
                การตัดสินใจเลือกโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมที่สุดนั้น โครงสร้างเงินทุนจะต้องประกอบด้วยแหล่งเงินทุนจากทั้งสองแหล่ง คือจากส่วนของผู้ถือหุ้น และจากแหล่งหนี้สิน ในสัดส่วนเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าโครงสร้างเงินทุนที่ใช้หนี้สินเท่าไร จึงจะทำให้ราคาหุ้นสามัญสูงสุด และ WACC ต่ำสุด โดยการคำนวณหาราคาหุ้นสามัญ และ WACC Debt Ratio ระดับต่าง ๆ  โดยปกติแล้ว Debt Ratio จะต้องไม่เกิน  1 เท่า ซึ่งจะทำให้สัดส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นจะอยู่ที่ 40 % : 60 %  จะถือว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับโครงสร้างเงินทุนที่ดี  เนื่องจากถ้าจัดหาเงินโดยการก่อหนี้มากกว่าจัดหาทุนโดยการออกหุ้นสามัญนั้น  จะทำให้เกิด Cost Of Debt (ต้นทุนของหนี้สิน)สูงขึ้น ซึ่ง Cost Of Debt นี้จะเป็นตัวที่ทำให้  WACC มีค่าต่ำเนื่องจาก Cost Of Debt เป็นต้นทุนหลังภาษี  สามารถประหยัดภาษีได้ ทำให้เกิดผลกำไรสูง   แต่กลับกันถ้าออกหุ้นสามัญมากกว่าการก่อหนี้จะทำให้ Cost of Equity สูง ซึ่งจะทำให้ WACC สูงกว่าการจัดหาเงินทุนจากการก่อหนี้นั่นเอง สามารถอธิบายได้จากสมการ WACC ดังนี้
WACC  =  wd  kd (1 - T) + wc kS         =   (D/A) ( kd) (1 - T) + (E/A) kS
 - ถ้าจัดโครงสร้างเงินทุนโดยการ ก่อหนี้เพิ่มขึ้น   à จะทำให้ WACC ต่ำ 
 - ถ้าจัดโครงสร้างเงินทุนโดยการลงทุนในหุ้นสามัญเพิ่มขึ้น   à จะทำให้ WACC สูงขึ้น 


ข้อ 4. เกณฑ์การพิจารณา PB , NPV , IRR เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร  และถ้าพิจารณาความเสี่ยง ท่านจะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการลงทุนอย่างไร ??? แนวตอบ :
Payback Period: PBระยะเวลาคืนทุน  ดูว่าหลังจากลงทุนไปแล้วใช้เวลานานแค่ไหนจึงจะคืนทุน ไม่คำนึงถึงมูลค่าของเงินตามเวลา และผลประโยชน์หลังจากคืนทุนแล้ว มีข้อดี คือ คำนวณง่าย สามารถบอกถึงความเสี่ยงขั้นต้นได้
Net Present Value: NPVมูลค่าปัจจุบันสุทธิ  เป็นวิธีการที่ต้องคิด PV ของกระแสเงินสดสุทธิทั้งหมด ทั้งเข้าและออก หักลบกันแล้วเกิดกำไรหรือขาดทุน  >> CF เข้า = CF ออก ถ้า NPV เป็น + รับโครงการ , ถ้า NPV เป็น - ปฏิเสธโครงการ
Internal Rate of Return: IRR คือการหาอัตราส่วนลด ที่ทำให้กระแสเงินสดสุทธิ หรือผลประโยชน์ทั้งหมดในอนาคต = มูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุนปัจจุบัน  >> เกณฑ์ตัดสินใจคือ ถ้า IRR > ต้นทุนของเงินทุน หรือ  IRR > ผลตอบแทนที่ต้องการ จะเลือกโครงการ
                ในการพิจารณาความเหมือน และความต่างของแต่ละค่า จะพิจารณาได้ดังนี้
ความแตกต่าง
1.               การเลือกโครงการลงทุน à PB เลือกลงทุนโครงการที่คืนทุนเร็วที่สุด จำนวนงวดเวลาน้อยสุด , NPV  จะเลือกค่าโครงการที่มีNPVเป็นบวก  ส่วน IRR  จะเลือกโครงการที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าต้นทุนของเงินทุน
2.               ค่าที่คำนวณจากแต่ละตัว  à  PB ค่าที่ออกมาจะเป็นงวดเวลา เช่น เดือน หรือ ปี, NPV  ค่าที่ออกมาจะเป็นจำนวนเงิน   ส่วน IRR  ค่าที่ออกมาจะเป็นจะเป็น %
3.               ผลที่ได้จากการคำนวณ  à PB และ NPV จะมีค่าเดียวเสมอ  ส่วน IRR อาจมี 2 ค่าได้ (เรียกว่า  Multiple IRR : MIRR )
ความเหมือน
1.               การเลือกโครงการกรณีที่ต้องลงทุนแค่ 1 โครงการ à  จะเลือกโครงการที่มีผลตอบแทนสูงสุด ระยะเวลาคืนทุนสั้นสุด
2.               การคำนวณ  à NPV และ IRR คำนึงถึงมูลค่าของเงินในอนาคตและปัจจุบันเหมือนกัน (แต่ PB ไม่คำนึงถึงมูลค่าของเงินในอนาคตและปัจจุบัน)
              ในการพิจารณาโครงการลงทุนนั้นควรใช้ทั้ง 3 ประกอบกัน (PB / IRR / NPV)  เพื่อช่วยในการตัดสินใจแต่ละโครงการ โดยใช้ Payback Period  เพื่อจะได้ทราบว่าโครงการลงทุนมีความเสี่ยงและสภาพคล่องเพียงไร  ,ใช้ NPV ช่วยประเมินโครงการว่าให้ผลตอบแทนมากน้อยเพียงใดโดยประเมินในรูปของตัวเงิน  ประกอบกับใช้ IRR ช่วยประเมินว่าโครงการนั้นให้ผลตอบแทนกี่เปอร์เซ็น ซึ่งผู้ตัดสินใจจะชอบมาก  และยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย (Safety Margin) ของโครงการ เช่น โครงการ S มี IRR 65%  โครงการ L มี IRR 15.5% หมายความว่า ผลตอบแทนของโครงการ S สามารถลดลงได้มากกว่าโดยที่ไม่ทำให้โครงการขาดทุน แต่โครงการ L ลดลงได้เล็กน้อย เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น